หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ฟรุตตี้


ฟรุตตี้ (Fruity) เป็นวงดนตรียุคแรกๆ ของ อาร์เอสมีสมาชิกทั้งหมด 8 คน โดยมีสมาชิกที่เป็นแกนหลักคือ ชมพู สุทธิพงษ์ วัฒนจัง (กีตาร์,ร้องนำ) และ ปิง สมพร ปรีดามาโนช(เบส,ร้องนำ,กีต้าร์,หัวหน้าวง) มีเพลงดังหลายเพลงเช่น เหมือนนกไร้ปีก,คนข้างเคียง,ความรักไม่รู้จบ,รักแท้,อยากบอกรัก ฯลฯ
อัลบั้ม "อยากบอกรัก" ที่ออกมาในปี 2530 เป็นผลงานชุดแรกของฟรุตตี้ ที่สมาชิกภายในวงเหลือเพียงสองคนคือ ชมพู และ ปิง ด้วยดนตรีเพลงป๊อบที่ทันสมัยขึ้น ทิ้งรูปแบบเพลงสตริงเดิมๆ ที่ทางวงเคยทำมา

ประวัติวงแรกเริ่ม
ฟรุตตี้เกิดจากการรวมตัวกันของเพื่อนแถวบ้าน 5 คน ซึ่งต่อมาปิงหัวหน้าวงได้ดึงชมพูเข้าร่วมวงและตระเวนออกแสดงตามที่ต่างๆ โดยมีชมพู รับหน้าที่เป็นคนแต่งเพลงส่วนใหญ่ให้กับวงจนได้เข้าสังกัด อาร์เอส ซาวด์ (อาร์เอสในปัจจุบัน) ออกอัลบั้มชุดแรกคือ "เหมือนนกไร้ปีก" มีเพลงดังคือเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้มและ ความรักไม่รู้จบ ต่อมาในปี 2529 อัลบั้มเต็มชุดที่ 3 ของทางวง คือ รอยนิรันดร์ ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านสมาชิกขึ้น เมื่อทางต้นสังกัด ต้องการเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอของวงฟรุตตี้ ให้เน้นไปที่ สมาชิกแกนหลักสองคนในวงคือ ชมพู และ ปิง ทั้งการออกสื่อ และรูปแบบวง โดยที่สมาชิกที่เหลือยังคงอยู่กับวงในฐานะแบ๊คอัพของทั้งคู่ อัลบั้มชุดนี้จึงเป็นชุดสุดท้ายที่สมาชิก 7 คนในวง อยู่ในนาม ฟรุตตี้

ฟรุตตี้ ยุค ชมพู-ปิง
อัลบั้มถัดมาในปี 2530 คือ "อยากบอกรัก" งานชุดแรกของฟรุตตี้ที่สมาชิกมีเพียง ชมพู และ ปิง โดย ปิง รับบทบาทในตำแหน่งกีต้าร์ทั้งในการแสดงสด และ บันทึกเสียงด้วย ในปีเดียวกันทางวงออกผลงานชุดพิเศษขึ้นคือ 5.5 ที่นำเพลงใหม่บางเพลงอย่าง 'คิดไม่ตก (อยากตาย)' บวกกับเพลงจากอัลบั้มเก่าๆ เป็นการปิดท้ายยุคเดิมของฟรุตตี้ งานในยุคนี้ของฟรุตตี้ เน้นไปที่เพลงป๊อปตามสากลนิยมมากขึ้น เจือด้วยเพลงแนวป๊อปร๊อค เต็มรูปแบบ สมาชิกทั้งสองคนมีส่วนร่วมในการทำงานทั้งการเล่นดนตรีในห้องอัด เรียบเรียงดนตรี ควมคุมการผลิตเอง และ การแต่งเพลง โดยเฉพาะ ชมพู ที่แต่งเพลงเกือบทั้งหมดให้แก่วง งานเพลงในยุคนี้ที่โด่งดั่งได้แก่ 'อยากบอกรัก' , 'นิยายรักขาดตอน' , 'สายเกินไป', โปรดรับรู้ (ร้องและแต่งโดย ปิง), 'คารมเป็นต่อ รูปหล่อเป็นรอง', 'รักนิดๆ', 'รักแท้(แต่รอให้รวยก่อน)', 'ทำไม่ได้', 'สุดใจบิน'

ผลงานเพลง
อัลบั้มเต็ม
• เหมือนนกไร้ปีก (2526)
• คนข้างเคียง (2527)
• รอยนิรันดร์ (2529)
• อยากบอกรัก (2530)
• คารมเป็นต่อ รูปหล่อเป็นรอง (2531)
• Fruity (aka.มีก็เหมือนไม่มี) (2532)
• สุดขีด (2533)

อัลบั้มพิเศษ
• 2 สไตล์ (2528)
• 5.5 (2530)
• คั้น-รวมฮิต (2534)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข้อมูลเพิ่มเติมหาอ่านได้ที่
http://www.oknation.net/blog/kilroy/2008/10/01/entry-9
http://www.oldsonghome.com/memory/ruamdao.html

แมคอินทอช


แมคอินทอช (McIntosh) เป็นวงสตริงขวัญใจวัยรุ่นในยุค 80 ประสบความสำเร็จทั้งจากผลงานเพลงและงานภาพยนตร์ ได้รับการโหวตจากนิตยสารโดเรมีให้เป็นวงดนตรียอดนิยมอันดับ 2 ในปี 2526 รองจาก แกรนด์เอ็กซ์

ประวัติ
แมคอินทอช ฟอร์มวงในปี 2520 โดยเหมียวเป็นหัวหน้าวง ในขณะนั้นสมาชิกในวงยังเป็นนักเรียน ไม่ได้เล่นประจำที่ใด เสกสรรค์ ภู่ประดิษฐ์ เป็นผู้ให้การสนับสนุนในการหางานแสดงในช่วงแรก ต่อมาทางวงได้เล่นดนตรีประจำไนท์คลับ และได้บันทึกเสียงเทปชุด ตำราจีบส์ ผลงานชุดนี้ไม่ประสบความสำเร็จ และแฟนเพลงหลายคนไม่ทราบว่า ทางวงเคยบันทึกเสียงเทปชุดนี้ ต่อมาในปี 2524 ทางวงได้เปลี่ยนแปลงสมาชิก และมีผลงานชุด ผมอยากดัง โดยมีเพลง ช้ำ ขับร้องโดยอู๋ ได้รับความนิยมระดับหนึ่ง
แมคอินทอชเริ่มจุดกระแสความนิยมในตัววงได้จากอัลบั้มชุด ใจสยิว ซึ่งออกในปี 2525 ด้วยภาพลักษณ์ของต้นและอู๋ ประกอบกับความสามารถทางด้านการเล่นดนตรีของวง และได้เพลงพ๊อพที่มีสัดส่วนดนตรีที่ดี ทำให้เข้าถึงผู้ฟังกลุ่มวัยรุ่นในวงกว้างได้มากขึ้น

ศุภักษรผู้กำกับหนังและ ผู้เขียนนิยายแนวนิยายรักนักศึกษา มองเห็นความนิยมที่วัยรุ่นมีให้ต่อแมคอินทอช จึงเป็นที่มาของ ภาพยนตร์เรื่อง วันวานยังหวานอยู่ โดยที่ทางวงร่วมแสดงนำกับ อรพรรณ พานทอง นางเอกวัยรุ่นยอดนิยม รวมทั้งมีผลงานเพลงประกอบตัวหนังด้วย ผลปรากฏว่าพวกเขาดังเป็นพลุแตกจากหนังและเพลงเรื่องนี้
วันนี้ยังมีเธอ เป็นผลงานหนังและเพลงที่รีบออกมาเก็บเกี่ยวความสำเร็จจากกระแสที่พวกเขาสร้างเอาไว้ ในช่วงปี 26-27 แมคอินทอชเป็นวงที่มีคิวแสดงโชว์ และคิวถ่ายทำหนังเต็มเหยียด ทำให้สมาชิกบางคนเริ่มล้า และใจมีความรักในการที่จะพัฒนางานด้านดนตรีมากกว่างานแสดง ซึ่งกันและกัน จึงเป็นผลงานเพลงปิดท้ายของทางวง ที่ออกมาคู่กับภาพยนตร์เรื่อง สยามสแควร์ โดยอัลบั้มชุดนี้เป็นชุดที่ดีที่สุดของพวกเขาด้วย หลังจากนั้นภาพยนตร์ ตะวันยิ้มแฉ่ง ออกฉายโดยเป็นหนังเรื่องสุดท้ายของพวกเขา
ภายหลัง ต้น หมู และ ปริ๊นซ์ ได้ตั้งวง ตาวัน โดยสลัดความเป็นพ๊อพไอดอล ออกไปอย่างสิ้นเชิง ส่วนอู๋ไปเรียนต่อ mba ที่สหรัฐอเมริกาและกลับมาออกอัลบั้มเดี่ยว ส่วนเหมียวไปได้ดีกับวงการแสดง

สมาชิก
• สมบัติ ขจรไชยกุล (เหมียว) - กีต้าร์ (17 พ.ค. 2500)
• อรรถพล ประเสริฐยิ่ง (อู๋) - คีย์บอร์ด (13 ก.ย. 2502)
• วงศกร รัศมิทัติ (ต้น) - กลอง (29 เม.ย. 2503)
• สุเมศ นาคสวัสด์ (นิด) - ร้องนำ (28 มิ.ย. 2501)
• กิติพันธุ์ ปุณกะบุตร (หมู) - กีตาร์ (26 มิ.ย. 2502)
• มรุธา รัตนสัมพันธ์ (ปริ๊นซ์) - เบส (5 ม.ค. 2502)
• วรเทพ เหลี่ยงวรกุล (เป๋ง) - แซ็กโซโฟน,สตริง (5 ต.ค. 2500)
• สมเกียรติ์ ชวนสมบูรณ์ (หนุ่ย) - ทรัมเป็ต (3 ม.ค. 2502)


ผลงานเพลง
อัลบั้ม ตำราจีบส์
อัลบั้ม ผมอยากดัง (พ.ศ. 2524)
อัลบั้ม ใจสยิว (พ.ศ. 2525)
อัลบั้ม วันวานยังหวานอยู่ (พ.ศ. 2526)
อัลบั้ม วันนี้ยังมีเธอ (พ.ศ. 2526)
อัลบั้ม ซึ่งกันและกัน (พ.ศ. 2527)

ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมของ วงแมคอินทอช ได้ที่
http://www.oknation.net/blog/kilroy/category/mcintosh
http://www.oldsonghome.com/memory/mcintosh.html

สาว สาว สาว


สาว สาว สาว คือกลุ่มนักร้องหญิงแนวเพลงป็อป ของค่ายรถไฟดนตรีซึ่งออกผลงานอยู่ในช่วงปี 2524-2532 ประกอบด้วยสมาชิก 3 คนคือ แอม แหม่ม และ ปุ้ม
• เสาวลักษณ์ ลีละบุตร (แอม) (เกิด 13 พ.ค. 2508)
• พัชริดา วัฒนา (แหม่ม) (เกิด 14 ต.ค. 2510)
• อรวรรณ เย็นพูนสุข (ปุ้ม) (เกิด 7 ก.ย. 2507)

จุดเริ่มต้น
คุณประเสริฐ พงษ์ธนานิกร หรือคุณระย้า นักจัดรายการวิทยุและเจ้าของบริษัทรถไฟดนตรีซึ่งในตอนนั้นยังอยู่บริษัทอีเอ็มไอ มีความต้องการตั้งวงดนตรีผู้หญิงซึ่งเน้นการร้องประสานเสียง จึงติดต่อไปยัง คุณวิรัช อยู่ถาวร (อดีตสมาชิกวงซิลเวอร์แซนด์) โดยคุณวิรัชได้แนะนำ แอม กับ ปุ้ม ซึ่งเป็นลูกสาวและหลานสาวของคุณฉันทนา กิตติยพันธ์ นักร้องอาชีพหญิงของวงการเพลงไทยในขณะนั้น และ แหม่ม ลูกสาวของคุณสุดา ชื่นบาน แอมและปุ้มเคยร้องเพลงในรายการ ฉันทนาโชว์ ทางช่อง 5 ซึ่งคุณระย้าได้มีโอกาสเห็น ทั้ง 3 สาวพร้อมกันในรายการมิวสิกสแควร์ ทางช่อง 3 คุณระย้าจึงได้ทั้งสามสาวมาตั้งกลุ่มนักร้องหญิงกลุ่มแรกวงการเพลงป็อปไทยในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งใช้เวลาการเตรียมงานทำอัลบั้มแรกถึง 3 ปี
ก่อนที่จะใช้ชื่อ สาว สาว สาว เป็นชื่อกลุ่ม คุณระย้าเคยคิดที่จะใช้ชื่อ สามใบเถา แต่ชื่อนี้ซ้ำกับหนังไทยที่ออกฉายไปก่อนแล้ว นำแสดงโดย คุณเนาวรัตน์ ยุกตะนันท์, คุณสุพรรษา เนื่องภิรมย์ และคุณอำภา ภูษิต ทำให้คุณระย้าเกรงว่าถ้าใช้ชื่อนี้อีกอาจจะทำให้เกิดความสับสนกับกลุ่มเป้าหมายได้

อัลบั้มชุดแรก รักปักใจ ออกจำหน่ายในปี 2524 กับสังกัดอีเอ็มไอ (ประเทศไทย) ซึ่งมีเพลงแนะนำคือ “แพะยิ้ม” อัลบั้มชุดนี้เป็นการนำเอาเพลงเก่ามาทำใหม่ และไม่เหมาะกับวัยของ 3 สาวเท่าไหร่นัก ชื่อเสียงของ “สาว สาว สาว” เลยไม่เป็นที่รู้จักเท่าไหร่ ระบบในสมัยนั้นตัวเพลงจะทำหน้าที่ขายตัวเองมากที่สุดโดยไม่มีปัจจัยอื่นมาสนับสนุน ประกอบกับภาพลักษณ์ของทางวงไม่ชัดเจน
เมื่อคุณระย้าเริ่มจัดรายการวิทยุเพลงไทยชื่อรายการ รถไฟดนตรี และตั้งค่ายเทปในชื่อเดียวกันออกผลงานชุดแรกของ ฟรีเบิร์ดส ได้รับความสำเร็จอย่างสูงในปี 2525 ด้วยความพร้อมทางสื่อที่มากขึ้นประกอบ อัลบั้มชุดที่สองของสาว สาว สาว ชุด "ประตูใจ" ออกจำหน่ายในช่วงปลายปี 2525 ซึ่งอัลบั้มชุดนี้ได้เปลี่ยนรูปลักษณ์ของสาว สาว สาว มาอยู่ในมาดสาวน้อยสดใส กับเพลงป็อปร่าเริง สดใส
ความนิยมค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น เริ่มจากในกลุ่มแฟนเพลงของรายการรถไฟดนตรี จน สาว สาว สาว ได้ขึ้นแสดงสดในรายการโลกดนตรีครั้งแรกช่วงต้นปี 2526 หลังจากนั้นความนิยมก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถทำยอดขายได้ถึง 300,000 ม้วน ซึ่งในขณะนั้นต้องถือว่าเป็นปรากฏการณ์ของวงการเพลง สำหรับกลุ่มนักร้องหน้าใหม่ ในปีเดียวกันนั้น สาว สาว สาว กลับมาแสดงที่โลกดนตรีอีกสองครั้ง โดยในครั้งที่สาม (ตุลาคม) ต้องออกมาแสดงนอกห้องส่ง เนื่องจากทางผู้จัดทราบว่าจะมีคนเข้าชมเป็นจำนวนมาก ถึงตอนนี้ สาว สาว สาว ถือว่าเป็นกลุ่มนักร้องหญิงที่ได้รับความนิยมสูงสุดในวงการเพลงไทยไปแล้ว อัลบั้มชุดที่สาม เป็นแฟนกันได้ยังไง ออกจำหน่ายในช่วงปลายปี 2526 เป็นการตอกย้ำความสำเร็จ ด้วยยอดขายอัลบั้มถึง 400,000 ม้วน
คุณชนินทร์ โปสาภิวัฒน์ จากนินจาเอนเทอร์เทนเมนท์โปรเจกต์ ได้จัดคอนเสิร์ตของ สาว สาว สาว ขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2527 ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปี 2526-2527 จึงถือว่าเป็นปีทองของ สาว สาว สาว อย่างแท้จริงด้วย การร้อง การแต่งเพลงเองของสมาชิกในกลุ่ม ภาพลักษณ์ การแสดงสด และตัวเพลงที่สอดคล้องกับยุคสมัยจึงทำให้กลุ่มนักร้องหญิงล้วนกลุ่มนี้เป็นตำนานบทหนึ่งของวงการเพลงไทยมาจนถึงปัจจุบัน
จนในปี พ.ศ. 2533 หลังจากมีผลงานอัลบั้มอีกกว่า 10 อัลบั้ม ทั้ง 3 สาวตัดสินใจยุติความเป็น“สาว สาว สาว” ในอัลบั้มชุดสุดท้ายกับอัลบั้ม “ดอกไม้ของน้ำใจ” ด้วยเหตุผล ต่างคนต่างมีความชอบทางดนตรีที่แตกต่างกันไป
ปัจจุบัน
แอม เป็นศิลปินนักร้อง สังกัดแกรมมี่ มีผลงานออกมาอยู่อย่างสม่ำเสมอ ส่วนแหม่มเป็นศิลปินสังกัด อาร์.เอส. และมีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโสของฝ่ายพัฒนาศิลปินของค่ายอาร์.เอส. รวมถึงเป็นครูสอนขับร้องเพลงให้กับศิลปินในสังกัด และปุ้มออกผลงานกับสังกัดอีเทอร์นัลและมีผลงานตามมาอีกจำนวนหนึ่ง และทำหน้าที่เป็นครูใหญ่ในบ้าน Academy Fantasia

ผลงาน
รักปักใจ (พ.ศ. 2524)
1. รักปักใจ
2. รักไม่จริง
3. แรกสาว
4. แฟนฉัน
5. แพะยิ้ม
6. รักครั้งแรก
7. รักต่างแดน
8. เจอะเขาจ้องมอง
9. เธอกับฉัน
10. จันทร์เจ้า

ประตูใจ (พ.ศ. 2525)
1. ประตูใจ
2. รักคือฝันไป
3. มิอาจรัก
4. ด้วยแรงแห่งรัก
5. รักทำไม
6. อยากลืม
7. ขอเพียงสัญญา
8. อย่าโกรธกันเลย
9. สาวนักเรียนนอก
10. ลาที

In Concert (พ.ศ. 2526)
1. ประตูใจ
2. รักทำไม
3. Hard To Say I’m Sorry
4. ด้วยแรงแห่งรัก
5. อยากลืม
6. The One You Love
7. รักคือฝันไป
8. แพะยิ้ม
9. Mickey
10. I Love You

เป็นแฟนกันได้ยังไง (พ.ศ. 2526)
1. เป็นแฟนกันได้ยังไง
2. ติ๊กต่อก(อย่าหยุดนะ)
3. ถ้าเธอกลับมา
4. เพียงเพราะว่า
5. ยาเสพติด(หลีกหนีให้ห่าง)
6. ไม่มีเธอ
7. บอกฉันว่าไง
8. แปลกดีนะ
9. ฟ้ากว้าง ทางไกล
10. คลื่นเสน่หา

หาคนร่วมฝัน (พ.ศ. 2527)
1. รักโกหก
2. รักชั่วคราว
3. แมวน้อยกับผีเสื้อ
4. จุดหมายปลายทาง
5. คิดถึงทุกวัน
6. ยามไกล
7. หาคนร่วมฝัน
8. ปฏิทินหัวใจ
9. ยิ้มเย้ยโลก
10. ไม่มีใครร้องไห้กับเรา
11. รักสำคัญที่ใจ
12. อย่าให้ฝันเก้อ

ในวัยเรียน (พ.ศ. 2528)
1. พบกันที่เขาดิน
2. ในวัยเรียน
3. ภาพฝัน
4. Thank You
5. จำไว้นะเธอ
6. เบื่อคอย
7. บ้านน้อย
8. Telephone
9. เที่ยวทะเล
10. เบื่อคนเค็ม
11. แมงมุม
12. เพียงความทรงจำ

แมกไม้และสายธาร (พ.ศ. 2529)
1. คืนใจ
2. ทุ่งอ้อ
3. ผิดสัญญา
4. รักไม่กลับคืน
5. อยากมีรัก
6. คำสัญญา
7. บทเพลงชีวิต
8. ลมเพ้อ
9. เด็กน้อยกับดวงดาว
10. หาคนร่วมฝัน

Because I Love You (พ.ศ. 2530)
1. Memory
2. Because I love you
3. Careless Whisper
4. When we make a home
5. You're the inspiration
6. Years
7. Windows & Walls
8. Our house
9. You send me
10. Walking in the rain
11. AMETO NAMIDA KAHITO (Chi Chi)
12. Starship of love
13. Last song for you

ว้าว..ว! (พ.ศ. 2531)
1. ฉันบอกเธอเอง
2. ลองทำดู
3. ห่วงใยทุกนาที
4. กว่าจะเจอ
5. คืนสุดท้าย
6. เพียงแค่เธอลืมฉันไป
7. หวังเพียงให้เธอรู้ใจ
8. รักผ่านไป...อีกครั้ง
9. แค่เพื่อนกัน
10. ฉันยังรอ

Together (พ.ศ. 2531)
1. Four Letter Words
2. Last Christmas
3. Lost in Love
4. Afternoon Delight
5. Something That Used To Be Mine
6. Luka
7. Danny’s Song
8. Video City
9. Love’s Gotta Hold on Me
10. Love
11. If You Remember Me
12. I Can’t Tell You Why

ดอกไม้ของน้ำใจ (พ.ศ. 2532)
1. ดอกไม้ของน้ำใจ
2. มีแต่เสียใจ
3. ไม่รู้ใจ
4. ลบไม่ออก
5. ลุยต่อไป
6. เบื่อแล้ว
7. เจ็บกว่านี้มีไหม
8. ตามเคย
9. เมื่อไรจะรู้
10. เจ็บก็ดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หาอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.saosaosao.com/

วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

คีรีบูน


คีรีบูน เป็นวงดนตรีชื่อดังช่วงยุค '80 ของ อาร์เอส ซาวด์ (อาร์เอสในปัจจุบัน) มีสมาชิกในยุคดั้งเดิมทั้งหมด 6 คน แต่ในอัลบั้ม "เพื่อน" มือเบสมีภารกิจส่วนตัวจึงดึงมือเบสคนใหม่เข้ามาแทน โดยมีสมาชิกที่เป็นแกนหลักคือ อ๊อด รณชัย ถมยาปริวัฒน์ (กีตาร์,ร้องนำ,หัวหน้าวง) โดยสมาชิกของคีรีบูนยุคแรกมีดังนี้
• รณชัย ถมยาปริวัฒน์ (อ๊อด) ตำแหน่ง กีตาร์,ร้องนำ
• อาทิตย์ นามบุญศรี (โอ๋) ตำแหน่ง กีตาร์,ร้อง
• ไพศาล อัญญธนา (ศาล) ตำแหน่ง คีย์บอร์ด,ร้อง
• ไกรฤทธิ์ แพสุวรรณ (โหน่ง) ตำแหน่ง เบส
• พิพัฒน์ นิลประภา (ตุ้ม) ตำแหน่ง คีย์บอร์ด
• ชัยพล อิ่มด้วยสุข (หนุ่ม) ตำแหน่ง กลอง

อัลบั้มแรกวางแผงเมื่อปี พ.ศ. 2526 ในชื่อว่า "หากรัก" ต่อมาอัลบั้ม "รอวันฉันรักเธอ" ซึ่งเป็นอัลบั้มชุดที่ 2 ได้ออกวางแผงในปี พ.ศ. 2527 มีเพลงดังอย่าง "รอวันฉันรักเธอ" โดยเพลงนี้ อ๊อด รณชัย นักร้องนำและหัวหน้าวงได้แต่งขึ้นจากชีวิตจริงของมือกลองคนแรกของวงที่จะต้องไปศึกษาต่อที่สิงคโปร์ และเป็นห่วงคนรักของเขามาก ทางอ๊อด คีรีบูนจึงแต่งเพลงนี้ขึ้นเพื่อแทนความคิดถึงของทั้งสองที่มีต่อกัน
หลังจากนั้นโหน่ง ไกรฤทธิ์ มือเบสของวงได้ขอลาออกจากวงไปเนื่องจากมีภารกิจส่วนตัวทางวงจึงดึง ต๋อง คมสันต์ ตันไชยฤทธิกุล เข้ามาเล่นเบสแทน โดยในปี พ.ศ. 2528 ได้ออกวางตลาดอัลบั้มชุดที่ 3 ชื่อ "เพื่อน" และอัลบั้มชุดที่ 4 ชื่อ "เพียงก่อนนั้น" ในระหว่างนั้นทางอาร์เอสได้ให้อ๊อดออกอัลบั้มเดี่ยวชื่อ "อ๊อด in USA" ตามกระแสที่ นิธิทัศน์ โปรโมชั่น ได้ปล่อย แจ้ ดนุพล ออกมา โดยทำการบันทึกเสียงที่สหรัฐอเมริกา ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 ทางวงได้ออกอัลบั้มชุดที่ 5 ซึ่งเป็นอัลบั้มชุดสุดท้ายของวงในชื่อว่า "ตลอดกาล" หลังจากนั้นสมาชิกทั้งหมดก็ประกาศแยกวงในที่สุด
และล่าสุดทางวงได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้งเพื่อแสดงคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกในรอบ 26 ปีของวงในคอนเสิร์ตที่มีชื่อว่า กาลครั้งหนึ่งของคีรีบูน ในวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553 ที่อิมแพค เมืองทองธานี
ผลงาน
1. คีรีบูน - หากรัก (2526)
2. คีรีบูน - รอวันฉันรักเธอ (2527)
3. คีรีบูน - เพื่อน (2528)
4. คีรีบูน - เพียงก่อนนั้น (2529)
5. คีรีบูน - ตลอดกาล (2529-2530)
6. คีรีบูน - ชุดพิเศษ ฝากไว้ให้คิดถึง (2538)

.....................................................................................................

วงชาตรี


ชาตรี เป็นวงดนตรีโฟล์คซองที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2512 โดยนักศึกษาปี2 แผนกช่างภาพ วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ 3 คน คือ นราธิป กาญจนวัฒน์ ประเทือง อุดมกิจนุภาพ คฑาวุธ สท้านไตรภพ ทั้งสามคนเล่นกีตาร์โปร่ง ต่อมาได้ชักชวนอนุสรณ์ คำเกษม เพื่อนร่วมห้องอีกคนหนึ่งมาเล่นกลอง ชื่อวงชาตรี มาจากชื่อหนังสือพระเครื่อง ของประชุม กาญจนวัฒน์ (พ่อของนราธิป)
วงชาตรีเริ่มรวมวงและแสดงครั้งแรก ในงานเลี้ยงต้อนรับน้องใหม่ของแผนกช่างภาพ ต่อมาได้แสดงในหอประชุมใหญ่ วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ และเข้าแข่งขันการประกวดวงโฟล์คซอง ทางวงรวบรวมเงินกันซื้อกลองเก่ามาหนึ่งชุด ทุกวันทุกคนในวงต้องช่วยกันขนกลองจากบ้านของอนุสรณ์ ที่มีนบุรี ขึ้นรถเมล์ไปวิทยาลัยเพื่อฝึกซ้อมในช่วงเย็น

วงชาตรีเริ่มบันทึกเสียงครั้งแรกทางรายการวิทยุ "120 นาที มัลติเพล็กซ์" โดยการชักชวนของครูไพจิตร ศุภวารี หนึ่งในกรรมการตัดสินโฟล์คซอง ซึ่งเห็นความสามารถ และได้บันทึกแผ่นเสียงชุดแรก จากไปลอนดอน พ.ศ. 2518 ชุดที่สอง แฟนฉัน พ.ศ. 2519 และได้ทำดนตรีประกอบภาพยนตร์ สวัสดีคุณครู กำกับโดยพันคำ นำแสดงโดยจารุณี สุขสวัสดิ์ จากนั้นจึงทำผลงานชุดที่สาม นำเพลงลูกทุ่งของชาตรี ศรีชลมาขับร้องใหม่
พ.ศ. 2520 ผลงานชุดที่สี่ ฝนตกแดดออก ประกอบภาพยนตร์ ฝนตกแดดออก กำกับโดยชาลี อินทรวิจิตร นำแสดงโดยสรพงศ์ ชาตรี ลลนา สุลาวัลย์ จากนั้นได้ทำเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง รักแล้วรอหน่อย ของพันคำ นำแสดงโดยสรพงศ์ และจารุณี และเรื่องจ๊ะเอ๋เบบี้ นำแสดงโดยสมบัติ เมทะนี และลลนา สุลาวัลย์
วงชาตรีเพิ่มตำแหน่งนักดนตรีคีย์บอร์ด โดยได้ประยูร เมธีธรรมนาถซึ่งทำระบบเสียงให้กับวงมาเล่นให้ พ.ศ. 2522 ทำเพลงประกอบละครเรื่อง นางสาวทองสร้อย ทางช่อง 9 และออกผลงานชุดใหม่ รัก 10 แบบ และ ชีวิตใหม่
ผลงานชุดชีวิตใหม่ เกิดขึ้นจากทางวงได้เข้าไปเยี่ยมชมสำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก และได้แต่งเพลงชื่อ หลงผิด เนื้อหาเกี่ยวกับผู้ติดยาเสพติด รายได้มอบให้กับสำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก
พ.ศ. 2523 ออกผลงานชุด รักครั้งแรก และ สัญญาใจ เป็นที่ระลึกในโอกาสที่ ประเทือง สมาชิกวงแต่งงาน จากนั้นออกผลงานชุด ชะตารัก
พ.ศ. 2525 เปิดการแสดงสดครั้งใหญ่ที่โรงแรมดุสิตธานี และออกผลงานบันทึกการแสดงสด ชาตรีอินคอนเสิร์ต ตามด้วยชุด รักไม่เป็น ได้รับรางวัลตุ๊กตาทองมหาชน จากเพลงภาษาเงิน
พ.ศ. 2526 ผลงานชุดใหม่ รักที่เธอลืม มีเพลง วันรอคอย และ ใต้ร่มเย็น ประพันธ์โดยพลเอกหาญ ลีลานนท์ แม่ทัพภาคที่ 4 เนื้อหาให้คนไทยมีความสามัคคีและรักชาติ อัลบั้มชุดนี้ได้รางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว จากยอดขายมากกว่าสองแสนตลับ
ผลงานชุดถัดมาชื่อ แอบรัก บันทึกเสียงที่ห้องบันทึกเสียงชาตรี ซึ่งตั้งชื่อเป็นเกียรติให้กับวง ตามด้วยชุด ชาตรีทศวรรษ
ผลงานชุดที่ 15 ชุดสุดท้ายของวง วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ชื่อชุด อธิษฐานรัก ถือฤกษ์วางจำหน่ายในวันแห่งความรัก และคอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายของพวกเขาได้จัดขึ้นที่รายการโลกดนตรีเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2528

ผลงาน
• จากไปลอนดอน (2518)
• แฟนฉัน (2519)
• หลงรัก (ลูกทุ่ง ชาตรี ศรีชล) (2519)
• ฝนตกแดดออก (2520)
• รัก 10 แบบ (2522)
• ชีวิตใหม่ (2522)
• รักครั้งแรก (2523)
• สัญญาใจ (2523)
• ชะตารัก (2524)
• ชาตรีอินคอนเสิร์ต (2525)
• รักไม่เป็น (2525)
• รักที่เธอลืม (2526)
• แอบรัก (2527)
• ชาตรีทศวรรษ (2527)
• อธิษฐานรัก (2528)
ขอบคุณ
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับคนรัก วงชาตรี
http://www.wongchatree.com/
http://www.oldsonghome.com/chatree
.................................................................................................

พิ้งค์แพนเตอร์


วงพิ้งค์แพนเตอร์ สมาชิกประกอบด้วย
วิชัย ปุญญะยันต์ (6 ส.ค. 2493)
โสรยา สิรินันท์ (19 ก.ค. 2500)
ณรงค์ อับดุลราฮิม
อดุลย์ วงษ์แก้ว
กรองทอง ทัศนพันธ์
ปนิตา ทัศนพันธ์
ประมาณ บุษกร
ประจวบ สินเทศ
มนู ทองดีมีชัย
เจน เฉลยกาย
ธนะศักดิ์ ไวอาสา
พิ้งค์แพนเตอร์ ออกผลงานชุด สายชล ในปี 2525 แต่เพลงที่เข้าวินคือ "รักฉันนั้นเพื่อเธอ"
แต่งโดย ชรัส เฟื่องอารมย์ นำทำนองมาจากเพลงญี่ปุ่น ทำให้ต้องเปลี่ยนชื่อชุดในภายหลัง
เมื่อพิมพ์ปกใหม่ จัดได้ว่าเป็นงานม้ามืดที่ทาง EMI ต้นสังกัดคาดไม่ถึงว่าจะทำยอดขาย
ได้เกินหกหลัก

วิชัย ปุญญะยันต์ (ต๋อย) อดีตสมาชิกวงซิลเวอร์แซนด์ตัวเต็งคว้าแชมป์สตริงคอมโบชิงถ้วย
พระราชทานในปีแรก (2512) แต่พลาดให้ดิอิมไปอย่างเฉียดฉิว ตอนนั้นซิลเวอร์แซนด์เล่นออก
แจ๊ซ แต่ดิอิมเน้นการร้องเสียงประสานทำให้ชนะใจกรรมการไปหวุดหวิด แต่พี่ต๋อยได้รางวัล
ตำแหน่งกีต้าร์คอร์ดยอดเยี่ยมจากการแข่งขันครั้งนี้ และได้รับพระราชทานรางวัลจากพระหัตถ์ในหลวง
เมื่อซิลเวอร์แซนด์ยุบวงพี่ต๋อยก็ทำงานอยู่ในวงการด้วยการรับเรียบเรียงเสียงประสาน
ร้องไกด์ ในห้องอัด ทำงานดนตรีให้กับ Wee Gee, วินัย พันธุรักษ์, อรวรรณ วิเศษพงศ์,
ธีระศักดิ์ อัจจิมานนท์, จันทนีย์ อุนากูล, สุชาติ ชวางกูร และ ชาตรี (ชุดภาษาเงิน) เป็นต้น

ในช่วงเวลานั้นก็ได้ฟอร์มวงพิ้งค์แพนเตอร์ ขึ้นมาเล่นแบ็คอัพและเล่นในห้องไปด้วย ภายหลัง EMI มองว่า
พิ้งค์แพนเตอร์ น่าจะทำผลงานของวงออกมาจึงเป็นที่มาของงานชุดแรก ดนตรีของพิ้งค์แพนเตอร์ มักจะใช้เสียงออร์เคสตร้าเข้าเสริมบทเพลงทำให้เป็นกลายเอกลักษณ์ของวง การแสดงสดจึงต้องใช้กลุ่ม
เครื่องสายเข้ามาเสริมหลายชิ้นทำให้การแสดงสดของวงน่าติดตามยิ่งนัก
ไกลเกินฝัน ออกตามในปีต่อมาโดยได้ โสรยา สิรินันท์ (ป้อม) เข้ามาเป็นนักร้องเสริม
เธอได้ฝากผลงานเพลงที่ไพเราะฟังได้มาจนถึงทุกวันนี้คือ "รอยเท้าบนผืนทราย" งานของพิ้งค์
ขณะที่ออกในสังกัด EMI เป็นงานน่าฟังทุกชุด และเป็นช่วงที่ทางวงโด่งดังมากที่สุด
ภายหลังทางวงมาสังกัดกับมิวสิคไลน์และนิธิทัศน์ ต่อมาพี่ต๋อยได้ดูแลงานผลิตให้กับ
ซีรีส์สุนทราภรณ์ ของแกรมมี่โกลด์

ขอขอบคุณ
ภาพและบทความ จากบล็อกดีๆของคุณ kilroy http://www.oknation.net/blog/kilroy
อ่านเรื่องราวเพิ่มเติมได้ที่ http://www.oldsonghome.com/pinkpanther
..............................................................................................

รอยัลสไปรท์ส


รอยัลสไปรท์ส (อังกฤษ: Royal Sprites) กลุ่มดนตรีสตริงคอมโบสัญชาติไทย มีชื่อเสียงในช่วง พ.ศ. 2522-2530 โดยนำทำนองเพลงฮิตจากต่างประเทศมาใส่เนื้อเพลงภาษาไทย มีหัวหน้าวงคือ อำนาจ ศรีมา มือกีตาร์ [2] มีนักร้องนำคือ สุนทร สุจริตฉันท์ รอยัลสไปรท์สมีผลงานทั้งในแนวป็อป ร็อก ดิสโก และลูกทุ่ง
ประวัติ
รอยัลสไปรท์ส ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2512 โดยอำนาจ ศรีมา หลังจากวงฟลาวเวอร์สได้ยุบวงไป โดยได้รวบรวมเพื่อนๆ ที่เรียนอยู่ที่โรงเรียนเพาะช่าง โดยมีนักร้องนำคือ อดิศักดิ์ ประคุณหังสิต ชื่อวงครั้งแรกชื่อ "The Royal Academy Of Magic Sprites" ต่อมาได้ตัดให้สั้นลงเหลือ "The Royal Sprites" เริ่มจากการเป็นวงดนตรีเล่นตามไนท์คลับ และเข้าร่วมการประกวดสตริงคอมโบชิงถ้วยพระราชทานครั้งที่สอง ปี พ.ศ. 2513 แต่ได้เพียงตำแหน่งรองแชมป์ พ่ายแพ้ให้กับวงดิ อิมพอสซิเบิลส์ ในระยะแรกเล่นดนตรีในแนวป็อบ และร็อก ต่อมาเมื่ออดิศักดิ์ ประคุณหังสิต ลาออกจากวงเพื่อไปทำงานประจำ จึงได้สุนทร สุจริตฉันท์ ซึ่งเป็นนักร้องดนตรีสากลจากวง M7 มาเป็นนักร้องนำแทน
รอยัลสไปร์ทส มีผลงานอัลบั้มครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2522 เล่นดนตรีแนวดิสโกตามสมัยนิยม มีเพลงดังคือเพลง เจงกีสข่าน นำเพลงฮิตของวง Dschinghis Khan จากเยอรมนีมาใส่คำร้องภาษาไทย, เพลง "จีบจู๋จี๋" จากทำนองเพลง Itsy Bitsy Teenie Weenie Yellow Polka Dot Bikini ของ Brian Hyland, เพลง "น่าอาย" จากทำนองเพลง Two Faces Have I ของ Lou Christie, เพลง "อาลีบาบา"
รอยัลสไปร์ทสมีผลงานอีกหลายชุด รวมทั้งชุด "มาหาพี่" ในแนวเพลงลูกทุ่ง มีเพลงดังคือเพลง "รักสิบล้อต้องรอสิบโมง" "สวยในซอย" ผลงานที่มียอดขายสูงสุด คือชุด "หยุดโลก" ในปี พ.ศ. 2526 มียอดขายเทปหลายแสนม้วน จนทำให้ทั้งวงได้ร่วมแสดงภาพยนตร์ เพลงรักก้องโลก ของไพจิตร ศุภวารี นำแสดงโดย ทูน หิรัญทรัพย์ จารุณี สุขสวัสดิ์ สมบัติ เมทะนี วินัย พันธุรักษ์ ภัทรา ทิวานนท์ และสุรชัย สมบัติเจริญ
สมาชิกในวงแยกย้ายกันไปทำงานส่วนตัว เมื่อราว พ.ศ. 2530 และกลับมารวมตัวกันอีกครั้งในปี พ.ศ. 2548 มีผลงานล่าสุดชื่อชุด "คนเก่งของฉัน"
ผลงาน
• เจงกีสข่าน
• มาหาพี่
• รักสิบล้อฯ
• ถ้าจะบ้า
• อาลีบาบา
• ผ้าขาวม้า
• เดียมวงกระดาวด่าว
• หลานอาโก
• หนึ่งไม่มีสอง
• สวยในซอย
• เรื่องจิ๊บจ๊อย
• ลูกทุ่งดิสโก้
• จีบจู๋จี๋
• 13 ปี รอยัลสไปรท์
• หยุดโลก
• สู่อวกาศ
• เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง เพลงรักก้องโลก
• '28 ซุปเปอร์เมดเล่ย์
• มายาแฟนตาซี
• 25 ปี รอยัลสไปรท์
• คนเก่งของฉัน
สมาชิก
อำนาจ ศรีมา (กีตาร์)
เสริมเวช ช่วงยรรยง (คีย์บอร์ด)
สุนทร สุจริตฉันท์ (ร้องนำ)
ไพรเวศ วงศ์ธนบัตร (เครื่องเป่า)
นิยม สะอาดพันธ์ (เบส)
พิเชฏฐ์ ศุขแพทย์ (เครื่องเป่า)
เดชา จินดาพล (เครื่องเป่า)
ศิโรฒน์ จุลินทร (กลอง)
ศักดา พัทธสีมา (กีตาร์, ร้อง)
ขอขอบคุณ
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
..............................................................................

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แกรนด์เอ็กซ์


แกรนด์เอ็กซ์ (GRAND EX’) เป็นวงดนตรีที่มีชื่อเสียงและประวัติยาวนาน ก่อตั้งโดย นคร เวชสุภาพร ชักชวนเพื่อนๆ ที่ วิทยาลัยบพิตรพิมุข ตั้งวงดนตรีชื่อว่า “Extreme” ต่อมาประกวดสตริงคอมโบครั้งที่ 3 โดยใช้ชื่อ แกรนด์เอ็กซ์
ที่มาของชื่อ แกรนด์เอ็กซ์
เพราะความชื่นชอบเพลง Under ground ชอง Grand Funk Railroad กับ Jimi Hendrix and Experience จึงนำชื่อ มารวมกันเป็น GRAND EXPERIENCE แต่เนื่องจากออกเสียงยากพอดีในช่วงนั้นที่ประเทศญี่ปุ่นมีงานเอ็กโป ในโปสเตอร์เขียนว่า EX’ 70 ซึ่งย่อมาจาก “เอ็กซ์โป 1970” จึงนำมาใช้บ้างโดยเปลี่ยนจาก EXPERIENCE กลายเป็น EX’ แทน จึงเรียกว่า แกรนด์เอ็กซ์
ลำดับการก่อตั้งวง
เริ่มที่แกรนด์เอ็กซ์ เป็นวงดนตรีสตริงคอมโบ ประเภทนักเรียน วิทยาลัยบพิตรพิมุข ประกอบด้วย
1. นคร เวชสุภาพร กีตาร์ Solo (หัวหน้าวง)
2. ประสิทธิ์ ไชยะโท กลอง
3. วราวุธ หิรัญวรรณ เบส
4. กำธร จิ้มลิ้มจินดา กีตาร์คอร์ด
5. สมมาตร ธูปจินดา ออร์แกน
6. ดำรง ชื่นเจริญสุช โฆษก และ นักร้อง
7. ณรงค์ เผือกห้าวหาญ นักร้องนำ
• การประกวดสตริงคอมโบครั้งที่ 3 ประเภทนักเรียน วงมัมมี่ได้รางวัลชนะเลิศไปครอง ส่วนวง GRAND EX’ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ และรางวัลขวัญใจสื่อมวลชน เนื่องจากแต่งตัวสุภาพเรียบร้อยใส่เสื้อขาว กางเกงขายาวสีดำ ผูกเน็คไท และผมสั้นกันเหมือนกันหมดทุกคน แม้จะเล่นดนตรีร๊อค ต่างจากวงอื่นในสมัยนั้นนิยมไว้ผมยาว
• เหลือสมาชิกสามคนคือ นคร ประสิทธิ์ และ วราวุธ จึงเริ่มหาสมาชิกใหม่ซึ่งได้ วิวัฒน์ ไชยเจริญ มือเปียโนจากวง The Bless และ วสันต์ แต้สกุล (สิริสุขพิสัย) มาเป็นนักร้อง
• เสน่ห์ ศุภรัตน์ (ทรัมเป็ต), ชาย แสงชะอุ่ม (แซ็กโซโฟน) และ สมศักดิ์ อภิวัฒน์ธีรกุล (ทรอมโบน) เข้ามาร่วมวงเพื่อให้มีเครื่องเป่าเป็น สตริงคอมโบ สมบูรณ์แบบ
• วิวัฒน์ ไชยเจริญ มือคียบอร์ดถูกดึงไปเล่นวงอื่น วสันต์ สิริสุขพิสัย จึงมาเล่นคีย์บอร์ดแทน และได้ กบ จากวงสยามธุรกิจมาช่วยเป็นนักร้อง
• วราวุธ มือเบส ตั้งแต่สมัยยุคเริ่มต้นของแกรนด์เอ็กซ์ลาออก จึงนึกถึง ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ ที่เคยมาสมัครวงแกรนด์เอ็กซ์ครั้งนึงแล้ว มาเป็นมือเบส
• กบ นักร้องนำได้ลาออก แกรนด์เอ็กซ์ ได้นักร้องนำเข้ามาแทนคือ จำรัส เศวตาภรณ์ ซึ่งขณะนั้น จำรัสเรียนอยู่ปี 1 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีหน้าที่ทั้งเล่นกีตาร์และร้องเพลง เพลงที่ร้องส่วนใหญ่เป็นเพลง Pop ที่ฮิตๆ ในเมืองไทย
• ออกแผ่น Single คู่นก ออกมามีทั้งหมด 4 เพลง คือ คู่นก เพ้อรัก ช้าหน่อยรัก และ เธอเท่านั้น
สมาชิกของวงยุคออกแผ่น Single ประกอบด้วย
1. นคร เวชสุภาพร กีตาร์, ร้องนำ (หัวหน้าวง)
2. ประสิทธิ์ ไชยะโท กลอง, ร้อง
3. วสันต์ สิริสุขพิสัย ออร์แกน, ร้อง
4. เสน่ห์ ศุภรัตน์ ทรัมเป็ต
5. สมศักดิ์ อภิวัฒน์ธีรกุล ทรอมโบน, เรียบเรียงเสียงประสาน
6. ชาย แสงชะอุ่ม แซ็กโซโฟน
7. ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ เบส
8. จำรัส เศวตาภรณ์ กีตาร์, ร้องนำ
• ชาย แสงชะอุ่ม ได้ขอลาออกไป และได้รับ พนัส หิรัญกสิ เข้ามาเล่นแซกโซโฟนแทน และด้วยสมาชิกชุดนี้ได้ออกอัลบั้มตามมาอีก 3 อัลบั้ม โดย อัลบั้มลูกทุ่งดิสโก้ ที่ทำให้คนทั้งประเทศรู้จัก
• จำรัส เศวตาภรณ์ ลาออกจากวงไปเพราะต้องไปช่วยกิจการของทางบ้าน ไม่มีเวลาพอที่จะมาเล่นดนตรีร่วมกับเพื่อนๆ ในวงได้
• สมศักดิ์ อภิวัฒน์ธีรกุล มือทรอมโบนก็ขอลาออก เนื่องจากมีอาการไม่สบายป่วยบ่อยๆ ได้ โชคดี พักภู่ ซึ่งรู้จักกันอยู่แล้วมาเล่น ทรอมโบน
• ดนุพล แก้วกาญจน์ ซึ่งเป็นนักร้องโฟลค์ซอง ร้องเพลงสไตล์ Bee Gees ได้ดี มาป็นนักร้องนำ มีผลงาน อัลบั้มที่ 4 ถึง อัลบั้มที่ 9
• ศรายุทธ สุปัญโญ มือคีย์บอร์ดชั้นแนวหน้าของเมืองไทย เข้ามาร่วมวง ระหว่างกำลังทำอัลบั้มที่ 10 และช่วยเรียบเรียงเสียงประสาน มีผลงานตามออกมาอีก 4 อัลบั้ม
แกรนด์เอ็กซ์ มีสมาชิกหลัก 9 คนประกอบด้วย
1. นคร เวชสุภาพร กีตาร์, ร้องนำ (หัวหน้าวง)
2. ประสิทธิ์ ไชยะโท กลอง, ร้อง
3. วสันต์ สิริสุขพิสัย ออร์แกน, ร้อง
4. เสน่ห์ ศุภรัตน์ ทรัมเป็ต
5. ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ เบส
6. พนัส หิรัญกสิ แซ็กโซโฟน
7. โชคดี พักภู่ ทรอมโบน
8. ดนุพล แก้วกาญจน์ ร้องนำ
9. ศรายุทธ สุปัญโญ คีย์บอร์ด
• ในปี พ.ศ. 2528 สมาชิก 5 คนได้ขอลาออกประกอบด้วย วสันต์ สิริสุขพิสัย, เสน่ห์ ศุภรัตน์, ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ, พนัส หิรัญกสิ, ศรายุทธ สุปัญโญ โดยที่ วสันต์, เสน่ห์, ทนงศักดิ์, พนัส ได้ตั้งวงขึ้นใหม่ในชื่อ “เพื่อน”
• สมาชิกอีก 4 คน นครเวช สุภาพร, ประสิทธิ์ ไชยะโท, โชคดี พักภู่ และ ดนุพล แก้วกาญจน์ ผลิตผลงานต่อไปภายใต้ชื่อใหม่ว่า “แกรนด์เอ็กซ์ แฟมิลี่”
• ไอศูรย์ วาทยานนท์ มาเพิ่มในอัลบั้มที่16
• ดนุพล แก้วกาญจน์ ได้ขอลาออกเมื่อเสร็จสิ้นอัลบั้มชุดที่ 16 เรียบร้อยแล้วไปเป็นศิลปินเดี่ยว ส่วน นคร, ประสิทธิ์ และ โชคดี หันไปทำงานเบื้องหลังแทน
• สุธี แสงเสรีชน เข้ามาร่วมงานในตำแหน่งกีตาร์โซโล และร้องนำ
• อริชัย อรัญนารถ และ จอนนี่ แอนโฟเน่ เข้ามา อัลบั้มพิเศษ ขวดโหล 1 และ 2
• พิทพล โชติสรยุทธ เข้ามา
• จาคมัย ศรีวาลัย เข้ามาในอัลบั้มชุดที่ 19(ชุดสุดท้าย)

ผลงาน
อัลบั้มชุดที่ 1 ลูกทุ่งดิสโก้ ชุดที่ 1 (สิงหาคม 2522)
1. สาวอีสานรอรัก
2. หลังคาแดง
3. ฉันทนาที่รัก
4. น้องใส่เสื้อลาย
5. หิ้วกระเป๋า
6. ปูไข่ไก่หลง
7. ดอกอะไร
8. สาวผักไห่
9. แสบเข้าไปถึงทรวง
10. หมดเสียแหละดี
11. นิ้งหน่อง
12. บ้านนี้ฉันรัก
13. เหล้าจ๋า

อัลบั้มชุดที่ 2 อัลบั้มบันทึกการแสดงสดที่แมนฮัตตันคลับ (กุมภาพันธ์ 2523)
1. TRAGEDY
2. REACHING OUT
3. MEDLEY NEW YORK MINING DISASTER/RUN TO ME/WORLD/HOLIDAY/I CAN'T SEE NOBODY/I STARTED A JOKE/MASSACHUSETTS
4. คู่นก
5. รักแรกพบ
6. ในห้วงกรรม
7. ดอกไม้ในสลัม
8. อาหารเจ็ดวัน

อัลบั้มชุดที่ 3 ลูกทุ่งดิสโก ชุดที่ 2 (มีนาคม 2523)
1. จำอ้ายได้บ่นาง
2. สาวอยู่บ้านได๋
3. เทพธิดาเทวี
4. ฝนตกรถติด
5. หงส์ปีกหัก
6. รักข้ามคลอง
7. คุณนายโรงแรม
8. แตงเถาตาย
9. มอง
10. ไก่นาตาฟาง
11. ใครลืมใครก่อน
12. บ้านใกล้เรือนเคียง

อัลบั้มชุดที่ 4 เขิน (กรกฎาคม 2523)
1. เขิน
2. เธอคือหัวใจ
3. โอ้รัก
4. รักแรกพบ
5. กล่อมรัก
6. ดอกไม้
7. พบเธอในฝัน
8. ช่างเถอะวันนี้
9. สัญญา
10. ไกลตา ใกล้ใจ

อัลบั้มชุดที่ 5 ผู้หญิง (มีนาคม 2524)
1. แม่ใจร้าย
2. ต้อยติ่ง
3. พลอยหุง
4. มิใช่กากี
5. เห็นแล้วหวั่นใจ
6. พระรามหก (หญิง)
7. พระรามหาก (ชาย)
8. อำแดงป้อม
9. แม่จ๋า
10. สิ้นสวาท

Single หัวใจมีปีก
1. หัวใจมีปีก

อัลบั้มชุดที่ 6 บันทึกการแสดงสด หอประชุมจุฬาฯ (มิถุนายน 2524)
1. หัวใจมีปีก
2. พบรัก
3. ได้ยังไง
4. I’ve Gotta Get a Message to You
5. Spirits (Having Flown)
6. Another Brick in the Wall
7. Babe
8. More Than I Can Say
9. ไกลตา ใกล้ใจ
10. เขิน

อัลบั้มชุดที่ 7 แกรนด์เอ็กซ์ โอ (ตุลาคม 2524)
1. ภาพดวงใจ
2. ลาก่อนความรัก
3. ลมสวาท
4. เกิดมาพึ่งกัน
5. คนธรรพ์รำพึง
6. บัวน้อยคอยรัก
7. นิราศนุช
8. ไก่ฟ้า
9. ทาสรัก
10. สวรรค์ในเรือนเพลง

อัลบั้มชุดที่ 8 บุพเพสันนิวาส (มีนาคม 2525)
1. กลิ่นดอกโศก
2. อยากมีรัก
3. บุพเพสันนิวาส
4. อุษาสวาท
5. นางนวล
6. ดาวล้อมเดือน
7. สุดดินสุดฟ้า
8. ปทุมไฉไล
9. ชีวิตใหม่
10. รักเดียว

อัลบั้มชุดที่ 9 นิจนิรันดร์ (กันยายน 2525)
1. บัวตูมบัวบาน
2. ผมไปไม่พ้น
3. ลืมรัก
4. ง้อเพราะรัก
5. เพ็ญโสภา
6. อย่าเห็นกันดีกว่า
7. คิดถึงเธออยู่ทุกลมหายใจ
8. ชั่วนิจนิรันดร์
9. สายทิพย์
10. อย่าหย่า

อัลบั้มชุดที่ 10 พรหมลิขิต (ตุลาคม 2525)
1. ฟลอร์เฟื่องฟ้า
2. เดียวดาย
3. กังหันต้องลม
4. หนึ่งในดวงใจ
5. สู่อนาคต
6. สุขกันเถอะเรา
7. พรหมลิขิต
8. คิดถึง
9. ยามรัก
10. ลืมเสียเถิดอย่าคิดถึง

อัลบั้มชุดที่ 11 Valentine Laser Concert (กุมภาพันธ์ 2526)
1. หัวใจมีปีก
2. อยากมีรัก
3. DADDY'S HOME
4. เมดเล่ย์ (เขิน - ดอกไม้ - กล่อมรัก - รักแรกพบ - โอ้รัก - ทาสรัก - บัวน้อยคอยรัก)
5. LET'S TWIST AGAIN
6. IF YOU LEAVE ME NOW
7. HOW CAN YOU MEND A BROKEN HEART
8. I'VE GOTTA GET A MESSAGE TO YOU
9. HARD TO SAY I'M SORRY
10. รักเดียว

อัลบั้มชุดที่ 12 เพชร (กันยายน 2526)
1. เพียงสบตา
2. ความรักคือการให้
3. น้ำค้าง
4. เพื่อน
5. รักในซีเมเจอร์
6. ทราย
7. เพชร
8. เจ้ากบ
9. อาลัย
10. หญิงหนึ่งคือเธอ
11. หม้ายหัวใจ
12. ทราย

อัลบั้มชุดที่ 13 บริสุทธิ์ (เมษายน 2527)
1. เชื่อฉัน
2. โลกที่ไม่เท่ากัน
3. แอบมอง
4. โบว์สีแดง
5. ผูกขวัญ
6. บริสุทธิ์ (บรรเลง)
7. หนึ่งหทัย
8. ป้าแช่ม
9. วันที่จากเธอ
10. ไม้ไกล้ฝั่ง
11. บริสุทธิ์

อัลบั้มชุดที่ 14 ดวงเดือน (พฤศจิกายน 2527)
1. ลาวดวงเดือน
2. เหมือนไม่เคย
3. ถ้าฉันจะรัก
4. ดวงใจในฝัน
5. เท่านี้ก็ตรม
6. จำพราก
7. ร.รอรัก
8. ธรณีสายเลือด
9. ทำบุญด้วยอะไร
10. กาลเวลา
11. พรุ่งนี้
12. เนื้อทองของพี่

อัลบั้มชุดที่ 15 หัวใจสีชมพู (มีนาคม 2528)
1. หัวใจสีชมพู
2. ระฆังใจ
3. หนทางสู่รัก
4. หัวใจที่ถอดวาง
5. แพรพิศวาส
6. ลุงเชย
7. จันทร์เจ้า
8. ไกลพี่
9. ขอใจให้พี่
10. เกินฝัน

อัลบั้มชุดที่ 16 สายใย (กรกฎาคม 2528)
อัลบั้มสายใย
1. คนธรรพ์รำพัน
2. แปรงสีฟัน
3. รักอำพราง
4. สายัณห์รัญจวน
5. ไกลบ้าน
6. สายใย
7. กีฬามหาสนุก
8. ฝันดี
9. ยังคอย
10. ไม่รักไม่ว่า
11. ยอม
12. รักเอย

อัลบั้มขวดโหล 1 (กุมภาพันธ์ 2529)
1. วัยสีชมพู
2. ทายาท
3. เหตุผลที่ฉันร้องเพลง
4. คนสวย
5. ทรายกับทะเล
6. เบื้องหลังตัวโน้ต
7. วิธีแก้โลกอับเฉา
8. ไม่มีคำว่าสาย
9. เสียงครวญจากคนหน้าตาธรรมดา
10. โลกสวย
11. วัยสีชมพู (บรรเลง)

อัลบั้มขวดโหล 2 (2529)
1. ขอภาพไว้คั่นตำรา
2. บาดเจ็บนิด ๆ
3. บ๊าย บายความรัก
4. ยิ้มแป้น
5. คำสารภาพของรองเท้าผ้าใบ
6. ขอภาพไว้คั่นตำรา
7. ข่าวสด ๆ
8. แด่ดาวหางฮัลเล่ย์
9. หมัดสีชมพู
10. เพียงความทรงจำ
11. เพลงอำลา
12. บาดเจ็บนิด ๆ
อัลบั้มชุดที่ 17 นิรันดร์กาล (พฤษภาคม 2529)

อัลบั้มนิรันดร์กาล
1. เก็บรัก
2. เด็กผู้หญิง
3. ความรัก
4. พี่ยังรักเธอไม่คลาย
5. ฉันอยู่คนเดียว
6. รักครึ่งใจ
7. แรกรัก
8. นิรันดร์กาล
9. ฝันประหลาด
10. ใกล้เพียงลมหายใจ
11. เพียงสองเรา
12. ความหวัง

อัลบั้มชุดที่ 18 อยากให้ความรัก(แก่คนทั้งโลก) (กุมภาพันธ์ 2530)
1. หนึ่งนาที
2. เพียงคนเดียว
3. ชู-บี-ดู-วา (ตรอกซอกซอยของความรัก)
4. รักใครหรือยัง
5. หากรู้สักนิด
6. รถไฟสายความรัก
7. อยากให้ความรัก (แก่คนทั้งโลก)
8. น้อย ๆ หน่อย
9. รักเขาข้างเดียว
10. เพลิน
11. ใครนะใคร ?
12. คิด คิด ถึงเธอ

อัลบั้มชุดพิเศษบทเพลงพระราชนิพนธ์ (ดวงใจกับความรัก) (ธันวาคม 2530)
1. ชะตาชีวิต
2. ใกล้รุ่ง
3. ลมหนาว
4. OH I SAY
5. แสงเทียน
6. อาทิตย์อับแสง
7. ค่ำแล้ว
8. พรปีใหม่
9. แก้วตาขวัญใจ
10. ยามเย็น
11. สายฝน
12. ดวงใจกับความรัก
13. แสงเดือน
14. ยิ้มสู้

อัลบั้มชุดที่ 19 ได้ไหม (พฤศจิกายน 2531)
1. ได้ไหม
2. ฝืด
3. เกิดเป็นผู้ชาย
4. ปล. โปรดตอบ
5. ฉันเข้าใจ
6. ทนไม่ไหว
7. สะใจกว่า
8. ใจหาย
9. อย่าทิ้งกันไป
10. ซุบซิบนินทา
11. ใจมันสั่ง
12. ผูกพัน
คอนเสิร์ต
• คอนเสิร์ตเปิดอัลบั้มเอ็กซ์โอ ที่โรงละครแห่งชาติ (31 ต.ค. 2524)
• คอนเสิร์ต ชุด นิจนิรันดร์ ที่สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง (4 ก.ย. 2525)
• คอนเสิร์ต พรหมลิขิต ที่ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง (26 ธ.ค. 2525)
• Valentine Laser Concert (13 ก.พ. 2526)
• Grand Ex’ Fan Club Meeting Summer Holiday:GXFCMSH (with monkey show) เพื่อก่อตั้งมูลนิธิแกรนด์เอ็กซ์ ที่ห้องมรกต โรงแรมอินทรา(2 พ.ค. 2526)
• คอนเสิร์ต Meeting Puppy Love ที่ห้องมรกต โรงแรมอินทรา(5 มิ.ย. 2526)
• GX. Crocodile concert ที่ห้องมรกต โรงแรมอินทรา (17 ก.ค. 2526)
• คอนเสิร์ทเปิดอัลบั้ม เพชร ที่ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง (21 ส.ค. 2526)
• Snow White Meeting Concert ที่ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง (16 ต.ค. 2526)
• คอนเสิร์ต เดชไซอิ๋วผจญอภินิหารซานตาครอส หอประชุมใหญ่ ม.ธรรมศาสตร์ (25 ธ.ค. 2526)
• คอนเสิร์ตเปิดอัลบั้ม บริสุทธิ์ หอประชุมใหญ่ ม.ธรรมศาสตร์ (18 มี.ค. 2527)
• Meeting คอนเสิร์ต ลาไปอเมริกึ๋ย ที่ห้องมรกต โรงแรมอินทรา (15 เม.ย. 2527)
• คอนเสิร์ตเปิดอัลบั้ม ดวงเดือน-ครั้งสุดท้ายของแกรนด์เอ็กซ์ (23 ต.ค. 2527)
• คอนเสิร์ต น้ำหนึ่ง-การกลับมาของสมาชิกแกรนด์เอ็กซ์ยุคคลาสสิก แสดงสดเพื่อการกุศล ที่สนามเสือป่า (30 พ.ค. 2530)
• คอนเสิร์ต แกรนด์ เอ็กซิบิชั่น ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี (16 มี.ค. 2545)
• คอนเสิร์ต แกรนด์ เอ็กซ์คลูซีฟ แอบรักเธออยู่ในใจ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (13-14 ส.ค. 2546)
• คอนเสิร์ต เพื่อนช่วยเพื่อน แด่โฆษกคนยาก ที่เสรีเซ็นเตอร์ (8 ก.ค. 2550) รวมศิลปิน
• คอนเสิร์ต Frame of Melody 50th แจ้ ดนุพล แก้วกาญจน์ 2009 ที่พารากอน ฮอลล์ สยามพารากอน (2 พ.ค. 2552) ในฐานะศิลปินรับเชิญ

ขอขอบคุณ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
http://www.oknation.net/blog/kilroy/category/grandex/
http://www.grandexfanclub.com/
...................................................................................................

ดิอิมพอสซิเบิ้ล


ดิอิมพอสซิเบิ้ล หรือชื่อเรียกสั้นๆ ว่า ดิอิม เป็นวงดนตรีสตริงคอมโบวงแรกๆ ของไทย ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2509 มีสมาชิกรุ่นแรกประกอบด้วย วินัย พันธุรักษ์, อนุสรณ์ พัฒนกุล, สุเมธ แมนสรวง และพิชัย ทองเนียม และได้นักร้องนำคือ เศรษฐา ศิระฉายา ใช้ชื่อวงว่า Holiday J-3 ต่อมาเปลี่ยนเป็น จอยท์ รีแอ็กชั่น เล่นดนตรีเพลงสากลที่มีชื่อเสียง เช่น เพลงของคลิฟ ริชาร์ด เอลวิส เพรสลีย์ บางเพลงนำทำนองเพลงต่างประเทศที่เป็นที่นิยม มาแต่งเนื้อร้องเป็นภาษาไทย เช่นเดียวกับวงอื่นๆ ในยุคเดียวกัน เช่น ซิลเวอร์แซนด์ รอยัล สไปรท์ส เล่นดนตรีตามไนท์คลับต่างๆ
วงจอยท์ รีแอ็กชั่น เข้าร่วมการประกวดวงสตริงคอมโบ จัดโดยสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อปี พ.ศ. 2512 ได้รับรางวัลชนะเลิศ 3 ปีติดต่อกัน ในปี(2512,2513,2515) วงจอยท์ รีแอ็กชั่น เปลี่ยนชื่อเป็น ดิอิมพอสซิเบิ้ล (The Impossibles) ชื่อนี้ตั้งโดยเศรษฐา ตามชื่อภาพยนตร์การ์ตูนทางโทรทัศน์ จากสหรัฐอเมริกา คือเรื่อง The Impossibles (1966)

ช่วงหลังจากชนะเลิศในปีแรก ความนิยมได้พุ่งสูงอย่างมากมาย วงดิอิม ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมแสดงและบรรเลงเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องโทน (เพลงเริงรถไฟ ชื่นรัก ปิดเทอม) ของผู้กำกับเปี๊ยก โปสเตอร์ ทำให้ดิอิมได้รับความสำเร็จอย่างท่วมท้น ในขณะเดียวกันก็เกิดความเปลี่ยนแปลง สุเมธ แมนสรวง ได้ลาออกไป และได้สิทธิพร อมรพันธุ์ จากวงฟลาวเวอร์กับ ปราจีน ทรงเผ่า จากวงเวชสวรรค์ ได้เข้าร่วมวงแทน ระยะเวลานั้นดิอิม เล่นประจำอยู่ที่ศูนย์การค้าเพลินจิต แห่งเดียว ส่วนการแสดงตามโรงภาพยนตร์ในรอบปฐมทัศน์ของภาพยนตร์ไทย หรือการแสดงในรอบเช้า 6.00 นาฬิกา ร่วมกับการฉายภาพยนตร์ซึ่งเป็นที่นิยมมากในยุคนั้น (ภาพยนตร์ไทยเรื่อง เก๋า..เก๋า พ.ศ. 2549 ได้นำเสนอบรรยากาศของเรื่องการแสดงรอบเช้าของดิอิมด้วย ถึงจะไม่เหมือนไปทุกอย่าง แต่ก็ทำได้ใกล้เคียงและทำให้เห็นบรรยากาศในยุคนั้นได้ดีทีเดียว) ได้รวมถึงการแสดงตามเวทีลีลาศทั้งที่สวนลุมพินี สวนอัมพร ซึ่งมีขึ้นประจำทุกวันศุกร์หรือเสาร์ ช่วงปี 2511-2515 กลายเป็นปีทองของวงดิอิมอย่างแท้จริงราวปี พ.ศ. 2516-2518

ดิอิมพอสซิเบิ้ล มีชื่อเสียง และได้ทำดนตรีประกอบภาพยนตร์ไทยเป็นจำนวนมาก ผลงานแผ่นเสียงขายดีที่สุดในยุคนั้น ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งในกลางปี 2515 ดิอิมพอสซิเบิ้ล ได้รับทาบทามให้ไปทำการแสดงที่มลรัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกาในครั้งนี้ได้เพิ่มยงยุทธ มีแสง ทรัมเป๊ตจากวงวิชัย อึ้งอัมพร ร่วมวงไปด้วย ตลอดเวลา 1 ปีใน ฮาวาย ดิอิมพอสสิเบิลส์ได้รับความนิยมและความสำเร็จมากมาย เป็นวงดนตรีแรกที่ทำสถิติยอดขายต่อคืนสูงสุดตั้งแต่เปิดทำการของคลับที่แสดงอยู่ชื่อ ฮาวายเอี้ยนฮัท โรงแรมอลาโมอานา (ที่มีศูนย์การค้าใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้นตั้งอยู่บริเวณเดียวกัน) ดิอิมซ้อมนักมาก พิชัย ทองเนียม มือเบส ขอลาออก เศรษฐาต้องไปเล่นเบส ทำให้ไม่สะดวกในการร้องนำ จึงทำให้เกิดความคิดที่จะเรียกเรวัติ พุทธินันท์(เต๋อ) นักร้องนำวงเดอะแธ้งค์ ซึ่งเคยเล่นสลับที่อิมพอสสิเบิลส์คาเฟ่มาเป็นนักร้องนำแทนเศรษฐา ช่วงที่เต๋อเข้ามาได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการเล่นของการบรรเลง โดยได้เน้นเพลงที่มีเครื่องเป่ามากขึ้น และเป็นเพลงที่เหมาะกับการเต้น เช่นเพลงของวง Tower of Power เป็นต้น ขณะที่แสดงที่นั้นได้มีนักร้องศิลปินดัง ๆ ของโลกมาเปิดการแสดงที่ฮาวาย ทำให้วงดิอิม ได้ใช้ประสบการณ์ในการเข้าชมศิลปินดัง ๆ เหล่านี้มาปรับปรุงการแสดงของวงให้พัฒนาขึ้นตลอดเวลา
ดิอิมหมดสัญญาที่ฮาวายในเดือนสิงหาคม 2516 และได้เดินทางกลับเมืองไทยพร้อมกับผู้จัดการวงใหม่ ชื่อจรัล นันทสุนานนท์(ปัจจุบัน ดร.พุทธจรัล) เพื่อให้มีการจัดการวงในรูปแบบสากลอย่างมีระบบ ต้นเดือนพฤศจิกายน 2516 หลังเหตุการณ์วันมหาวิปโยค ดิอิม ได้เข้าทำการแสดง ณ เดอะเดนไนท์คลับ โรงแรมอินทรา ประตูน้ำเป็นเวลา 6 เดือน และที่เดอะเดนนี้เอง ดิอิม ได้สร้างระบบใหม่ในการเข้าชมของวง โดยมีการเก็บค่าชม ก่อนการเข้าไปในคลับ ซึ่งนับได้ว่าเป็นครั้งแรกของเมืองไทยและวงดนตรีไทย ในช่วงนี้ก็มีความเปลี่ยนแปลงขึ้นอีกครั้ง ได้สมชาย กฤษณเศรณี(ปึ๊ด) มาเล่นเบสแทนเศรษฐา และปรีด์เทพ มาลากุล ณ อยุธยา(เปี๊ยก)มาเล่นกลองแทนอนุสรณ์ พัฒนกุล ได้ให้เรวัติเป็นนักร้องนำและเล่นออร์แกน เศรษฐาได้กลับไปเป็นนักร้องนำตามเดิม
การเดินทางเริ่มขึ้นอีกครั้งหลังหมดสัญญาที่เดอะเดน วงดิอิมได้รับการติดต่อไปแสดงในประเทศแถบสแกนดิเนียเวีย เริ่มจากสวีเดน ฟินแลนด์ นอร์เวย์ ตั้งแต่เดือน มิถุนายนถึงธันวาคม 2517 จากนั้นกลับเมืองไทย และเปลี่ยนมือเบส ไพฑูรย์ วาทยะกร เข้ามาแทนสมชาย เดือนมิถุนายน ไปยุโรปอีกครั้ง เริ่มที่สวีเดน ฟินแลนด์ ข้ามไปสวิตเซอร์แลนด์ กลับมาสวีเดนอีกและไปจบที่สวิสในเดือนกุมภาพันธ์ 2519 กลับเมืองไทย เล่นที่โรงแรมมณเฑียรเหมือนเดิม
ในปี 2518 ระหว่างการกลับไปตระเวณแสดงในยุโรปครั้งที่ 2 ดิอิมพอสสิเบิ้ล ได้ทำการบันทึกเสียงเพลงสากลเป็นครั้งแรกของวง ในชื่ออัลบั้ม Hot pepper
หลังจากนี้ได้ว่าเกือบเป็นปลายยุคของวง ได้มีการประชุมตกลกที่จะยุบวง หลังจากวงมีอายุรวมกันมาถึง 9 ปี มีการแถลงข่าวยุบวงอย่างเป็นทางการต่อสื่อมวลชนช่วงเดือนเมษายน 2519 หลังจากนั้นได้เดินทางไปเล่นที่โรงแรมมาเจสติค กรุงไทเป ไต้หวัน โดยทำสัญญาเดือนต่อเดือน พอเริ่มทำงานหมดเดือนแรก เรวัติออกไปก่อน และได้เดินทางไปทำงานที่สวีเดน 3 เดือน ในไต้หวันทำงานค่อนข้างหนัก เพราะต้องแสดงทั้งกลางวันและกลางคืน (1 มิถุนายน-4 กันยายน 2519) หลังกลับเมืองไทยดิอิมได้แสดงในช่วงสุดท้ายที่คลับโรงแรมแมนฮัตตัน ทอปเปอร์คลับ ตึกนายเลิศ และที่เดอะฟ๊อกซ์ ชั้นใต้ดินศูนย์การค้าเพลินจิต โดยทำการแสดงคืนละ 3 แห่ง ในราวเดือนตุลาคม 2519 ก็ได้หยุดทำการแสดงอย่างเป็นการถาวรในนาม ดิอิมพอสซิเบิ้ล วงดนตรีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นตำนานของวงดนตรีสากลแบบสตริงคอมโบ วงดนตรีขวัญใจวัยรุ่นของประเทศไทยต่อมาในช่วงพ.ศ. 2533ทางวงได้กลับมาออกอัลบั้มอีกครั้งกับนิธิทัศน์ โปรโมชั่นโดยเป็นการนำเอาเพลง ยอดนิยมมาออกใหม่

สรุปผลงาน
อัลบั้มทางการ
• เป็นไปไม่ได้ (2515)
• หมื่นไมล์แค่ใจเอื้อม (2516)
• Hot pepper(2519)
• กลับมาแล้ว (2535)

ผลงานการแสดงดนตรี
(จากการบันทึกของสมาชิกวงพิชัย ทองเนียม และปราจีน ทรงเผ่า หนังสือ รวมบทเพลง The Impossibles)

ช่วงปี 2509-2512(ยุคเริ่มต้น)
• Holiday Carden ถนนเพชรบุรีตัดใหม่(ชื่อวง Holiday J-3)
• Wachington Bar ถนนเพชรบุรีตัดใหม่(ชื่อวง Joint Reaction)
• Progress Bar ถนนเพชรบุรีตัดใหม่(ชื่อวง The Impossibles)
• Las Vegas Bar ถนนเพชรบุรีตัดใหม่(ชื่อวง The Impossibles)

ช่วงปี 2512-2517(หลังชนะการประกวดสตริงคอมโบชิงถ้วยพระราชทานปีแรก)
• The Fire Cracker Club โรงแรม First ประตูน้ำ
• The impossibles Cafe ศูนย์การค้าประตูน้ำ ปทุมวัน
• ศาลาแดง ฮอลล์ ตรงข้างสวนลุมพินี (สลับกับวงวิชัย อิ้งอัมพร)
• Hawaiian Hut Ala Moana Hotel Honolulu Hawai U.S.A. - การแสดงต่างประเทศครั้งแรก
• The Den โรงแรมอินทรา ประตูน้ำ กรุงเทพฯ

ช่วงปี 2517(ทัวร์ยุโรปครั้งแรก 1974)
• Europa Hotel - Gothenberg Sweden
• Norkipping - Sweden
• Monday Club - Stockholm Sweden
• Hesperia Hotel - Helsinki Finland
• Rainbow Club - Oslo Norway
• Noimalman - Stockholm Sweden
• Borsen Club - Stockholm Sweden
• Sunswall - Sweden
• Grand Central Hotel - Javle Sweden
• Hotel Jonkoping -Sweden
• New Yaki Club - Gothenberg Sweden
• แอน แอน ครับ - โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ (กลับเมืองไทยชั่วคราว)

ช่วงปี 2518-2519(ทัวร์ยุโรปครั้งแรก 1975-1976)
• Tragarn Restaurant - Gothenberg Sweden
• Hesperia Hotel - Helsinki Finland
• Malibu Club Basle - Swiszerland
• New Yaki Club - Gothenberg Sweden
• Grinderwald - Switzerland
• Mascot Club Zurich - Switzerland
• Babalu Club Bern - Switzerland
• แอน แอน คลับ โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ (กลับเมืองไทย 25191976)
• ประกาศยุบวงในเดือนเมษายน 2519 ขณะเล่นที่ แอน แอน คลับ
• หลังประกาศยุบวงยังได้กลับมาวงตัวไปแสดงที่ ไต้หวัน ช่วง 1 มิถุนายน - 4 กันยายน 2519 Majestic Club Majestic Hotel - Taipei Taiwan
• ตุลาคม 2519 กลับเมืองไทย เล่นส่งท้าย (ประมาณ 14 วัน) คืนละ 3 แห่ง ที่ แมนฮัตตัน คลับ สุขุมวิท, ทอปเปอร์คลับ ตึกนายเลิศ, เดอะ ฟอกซ์ ศูนยการค้าเพลินจิต

เพลงประกอบภาพยนตร์
• เริงรถไฟ-จากภาพยนตร์เรื่อง โทน (2512)
• ปิดเทอม-จากภาพยนตร์เรื่อง โทน (2512)
• ชื่นรัก-จากภาพยนตร์เรื่อง โทน (2512)
• รักกันหนอ-จากภาพยนตร์เรื่อง รักกันหนอ (2513)
• เจ้าพระยา-จากภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งนุช (2514)
• ลำนำรัก-จากภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งนุช (2514)
• เริงสายชล-จากภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งนุช (2514)
• ล่องวารี-จากภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งนุช (2514)
• เริงทะเล-จากภาพยนตร์เรื่อง ชื่นชีวาฮาวาย (2514)
• ไม่มีวันที่เราจะพรากจากกัน-จากภาพยนตร์เรื่อง ไม่มีวันที่เราจะพรากจากกัน (2514)
• ไปตามดวง-จากภาพยนตร์เรื่อง ดวง (2514)
• หนาวเนื้อ-จากภาพยนตร์เรื่อง ดวง (2514)
• ผม-จากภาพยนตร์เรื่อง ดวง (2514)
• โลกของเรา-จากภาพยนตร์เรื่อง สะใภ้หัวนอก (2514)
• น้ำผึ้งพระจันทร์(ร้องโดยชรินทร์ นันทนาคร)-จากภาพยนตร์เรื่อง น้ำผึ้งพระจันทร์ (2514)
• ใจหนุ่มใจสาว-จากภาพยนตร์เรื่อง น้ำผึ้งพระจันทร์ (2514)
• มันไหนล่ะ-จากภาพยนตร์เรื่อง สายชล (2514)
• จันทร์เพ็ญ-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
• ดีด สี ตี เป่า-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
• ความหวัง-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
• หาดสีทอง-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
• สายใยชีวิต-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
• ระเริงชล-จากภาพยนตร์เรื่อง ระเริงชล (2514)
• จูบฟ้า ลาดิน-จากภาพยนตร์เรื่อง ระเริงชล
• มิสเตอร์สโลลี่-จากภาพยนตร์เรื่อง ระเริงชล (2514)
• ข้าวเปลือก-จากภาพยนตร์เรื่อง ระเริงชล
• ค่าของคน-จากภาพยนตร์เรื่อง ค่าของคน (2514)
• ค่าของรัก-จากภาพยนตร์เรื่อง ค่าของคน (2514)
• ค่าของเงิน-จากภาพยนตร์เรื่อง ค่าของคน (2514)
• รอรัก-จากภาพยนตร์เรื่อง เจ้าลอย (2514)
• หนึ่งในดวงใจ-จากภาพยนตร์เรื่อง เจ้าลอย (2514)
• เดอะทีนเอจ-จากภาพยนตร์เรื่อง สวนสน (2514)
• ทะเลไม่เคยหลับ-จากภาพยนตร์เรื่อง สวนสน (2514)
• ครองจักรวาล-จากภาพยนตร์เรื่อง สวนสน (2514)
• โลกมายา-จากภาพยนตร์เรื่อง สาวกอด (2515)
• โอ้รัก-จากภาพยนตร์เรื่อง โอ้รัก (2515)
• หัวใจเหิร-จากภาพยนตร์เรื่อง สองสิงห์สองแผ่นดิน (2515)
• ยอดดวงมาลย์-จากภาพยนตร์เรื่อง ภูกระดึง (2515)
• ไม่มีคำตอบจากสวรรค์-จากภาพยนตร์เรื่อง ไม่มีคำตอบจากสวรรค์ (2516)
• ทอง-จากภาพยนตร์เรื่อง ทอง (2516)
• ข้าวนอกนา-จากภาพยนตร์เรื่อง ข้าวนอกนา (2518)
• ชีวิตคนดำ-จากภาพยนตร์เรื่อง ข้าวนอกนา (2518)
• เกลียดคนสวย-จากภาพยนตร์เรื่อง ข้าวนอกนา (2518)
• ตัดเหลี่ยมเพชร-จากภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร (2518)
• แล้วเธอจะรู้-จากภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร (2518)
• ราตรีที่แสนเหงา-จากภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร (2518)
• The Great Friday(บรรเลง)-จากภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร (2518)
• ดับสุริยา-จากภาพยนตร์เรื่อง ดับสุริยา (2519)
• คมกุหลาบ-จากภาพยนตร์เรื่อง คมกุหลาบ (2519)
• ในช่วงปี 2517 บริษัทศรีกรุงภาพยนตร์ ได้จัดสร้างภาพยนตร์เรื่องเป็นไปไม่ได้ โดยมีรงค์ วงษ์สวรรค์ เป็นผู้เขียนเรื่องและบทภาพยนตร์ มีเพลงประกอบที่สำคัญคือ เพลงเป็นไปไม่ได้ กังวลทะเล ผมเป็นโคบาลไทย และเพลงกุลา(ผลงานของสุรชัย จันทิมาธร) แต่งานสร้างประสบความล้มเหลว ไม่สามารถสร้างให้จบได้

เพลงที่มีชื่อเสียง
• เป็นไปไม่ได้
• เริงทะเล
• ชื่นรัก
• ทะเลไม่เคยหลับ
• โอ้รัก
• ไหนว่าจะจำ
• คอยน้อง
• หนาวเนื้อ
• หนึ่งในดวงใจ
• จูบฟ้า ลาดิน
• ชั่วนิจนิรันดร
• ขาดเธอ ขาดใจ
• ทัศนาจร
• ชาวดง
• นกขมิ้น
• ข้าวนอกนา
• เกลียดคนสวย
• ชีวิตคนดำ
• ผมไม่วุ่น
ฯลฯ
ขอขอบคุณ : วิกิพีเดีย