หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ฟรุตตี้


ฟรุตตี้ (Fruity) เป็นวงดนตรียุคแรกๆ ของ อาร์เอสมีสมาชิกทั้งหมด 8 คน โดยมีสมาชิกที่เป็นแกนหลักคือ ชมพู สุทธิพงษ์ วัฒนจัง (กีตาร์,ร้องนำ) และ ปิง สมพร ปรีดามาโนช(เบส,ร้องนำ,กีต้าร์,หัวหน้าวง) มีเพลงดังหลายเพลงเช่น เหมือนนกไร้ปีก,คนข้างเคียง,ความรักไม่รู้จบ,รักแท้,อยากบอกรัก ฯลฯ
อัลบั้ม "อยากบอกรัก" ที่ออกมาในปี 2530 เป็นผลงานชุดแรกของฟรุตตี้ ที่สมาชิกภายในวงเหลือเพียงสองคนคือ ชมพู และ ปิง ด้วยดนตรีเพลงป๊อบที่ทันสมัยขึ้น ทิ้งรูปแบบเพลงสตริงเดิมๆ ที่ทางวงเคยทำมา

ประวัติวงแรกเริ่ม
ฟรุตตี้เกิดจากการรวมตัวกันของเพื่อนแถวบ้าน 5 คน ซึ่งต่อมาปิงหัวหน้าวงได้ดึงชมพูเข้าร่วมวงและตระเวนออกแสดงตามที่ต่างๆ โดยมีชมพู รับหน้าที่เป็นคนแต่งเพลงส่วนใหญ่ให้กับวงจนได้เข้าสังกัด อาร์เอส ซาวด์ (อาร์เอสในปัจจุบัน) ออกอัลบั้มชุดแรกคือ "เหมือนนกไร้ปีก" มีเพลงดังคือเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้มและ ความรักไม่รู้จบ ต่อมาในปี 2529 อัลบั้มเต็มชุดที่ 3 ของทางวง คือ รอยนิรันดร์ ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านสมาชิกขึ้น เมื่อทางต้นสังกัด ต้องการเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอของวงฟรุตตี้ ให้เน้นไปที่ สมาชิกแกนหลักสองคนในวงคือ ชมพู และ ปิง ทั้งการออกสื่อ และรูปแบบวง โดยที่สมาชิกที่เหลือยังคงอยู่กับวงในฐานะแบ๊คอัพของทั้งคู่ อัลบั้มชุดนี้จึงเป็นชุดสุดท้ายที่สมาชิก 7 คนในวง อยู่ในนาม ฟรุตตี้

ฟรุตตี้ ยุค ชมพู-ปิง
อัลบั้มถัดมาในปี 2530 คือ "อยากบอกรัก" งานชุดแรกของฟรุตตี้ที่สมาชิกมีเพียง ชมพู และ ปิง โดย ปิง รับบทบาทในตำแหน่งกีต้าร์ทั้งในการแสดงสด และ บันทึกเสียงด้วย ในปีเดียวกันทางวงออกผลงานชุดพิเศษขึ้นคือ 5.5 ที่นำเพลงใหม่บางเพลงอย่าง 'คิดไม่ตก (อยากตาย)' บวกกับเพลงจากอัลบั้มเก่าๆ เป็นการปิดท้ายยุคเดิมของฟรุตตี้ งานในยุคนี้ของฟรุตตี้ เน้นไปที่เพลงป๊อปตามสากลนิยมมากขึ้น เจือด้วยเพลงแนวป๊อปร๊อค เต็มรูปแบบ สมาชิกทั้งสองคนมีส่วนร่วมในการทำงานทั้งการเล่นดนตรีในห้องอัด เรียบเรียงดนตรี ควมคุมการผลิตเอง และ การแต่งเพลง โดยเฉพาะ ชมพู ที่แต่งเพลงเกือบทั้งหมดให้แก่วง งานเพลงในยุคนี้ที่โด่งดั่งได้แก่ 'อยากบอกรัก' , 'นิยายรักขาดตอน' , 'สายเกินไป', โปรดรับรู้ (ร้องและแต่งโดย ปิง), 'คารมเป็นต่อ รูปหล่อเป็นรอง', 'รักนิดๆ', 'รักแท้(แต่รอให้รวยก่อน)', 'ทำไม่ได้', 'สุดใจบิน'

ผลงานเพลง
อัลบั้มเต็ม
• เหมือนนกไร้ปีก (2526)
• คนข้างเคียง (2527)
• รอยนิรันดร์ (2529)
• อยากบอกรัก (2530)
• คารมเป็นต่อ รูปหล่อเป็นรอง (2531)
• Fruity (aka.มีก็เหมือนไม่มี) (2532)
• สุดขีด (2533)

อัลบั้มพิเศษ
• 2 สไตล์ (2528)
• 5.5 (2530)
• คั้น-รวมฮิต (2534)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข้อมูลเพิ่มเติมหาอ่านได้ที่
http://www.oknation.net/blog/kilroy/2008/10/01/entry-9
http://www.oldsonghome.com/memory/ruamdao.html

แมคอินทอช


แมคอินทอช (McIntosh) เป็นวงสตริงขวัญใจวัยรุ่นในยุค 80 ประสบความสำเร็จทั้งจากผลงานเพลงและงานภาพยนตร์ ได้รับการโหวตจากนิตยสารโดเรมีให้เป็นวงดนตรียอดนิยมอันดับ 2 ในปี 2526 รองจาก แกรนด์เอ็กซ์

ประวัติ
แมคอินทอช ฟอร์มวงในปี 2520 โดยเหมียวเป็นหัวหน้าวง ในขณะนั้นสมาชิกในวงยังเป็นนักเรียน ไม่ได้เล่นประจำที่ใด เสกสรรค์ ภู่ประดิษฐ์ เป็นผู้ให้การสนับสนุนในการหางานแสดงในช่วงแรก ต่อมาทางวงได้เล่นดนตรีประจำไนท์คลับ และได้บันทึกเสียงเทปชุด ตำราจีบส์ ผลงานชุดนี้ไม่ประสบความสำเร็จ และแฟนเพลงหลายคนไม่ทราบว่า ทางวงเคยบันทึกเสียงเทปชุดนี้ ต่อมาในปี 2524 ทางวงได้เปลี่ยนแปลงสมาชิก และมีผลงานชุด ผมอยากดัง โดยมีเพลง ช้ำ ขับร้องโดยอู๋ ได้รับความนิยมระดับหนึ่ง
แมคอินทอชเริ่มจุดกระแสความนิยมในตัววงได้จากอัลบั้มชุด ใจสยิว ซึ่งออกในปี 2525 ด้วยภาพลักษณ์ของต้นและอู๋ ประกอบกับความสามารถทางด้านการเล่นดนตรีของวง และได้เพลงพ๊อพที่มีสัดส่วนดนตรีที่ดี ทำให้เข้าถึงผู้ฟังกลุ่มวัยรุ่นในวงกว้างได้มากขึ้น

ศุภักษรผู้กำกับหนังและ ผู้เขียนนิยายแนวนิยายรักนักศึกษา มองเห็นความนิยมที่วัยรุ่นมีให้ต่อแมคอินทอช จึงเป็นที่มาของ ภาพยนตร์เรื่อง วันวานยังหวานอยู่ โดยที่ทางวงร่วมแสดงนำกับ อรพรรณ พานทอง นางเอกวัยรุ่นยอดนิยม รวมทั้งมีผลงานเพลงประกอบตัวหนังด้วย ผลปรากฏว่าพวกเขาดังเป็นพลุแตกจากหนังและเพลงเรื่องนี้
วันนี้ยังมีเธอ เป็นผลงานหนังและเพลงที่รีบออกมาเก็บเกี่ยวความสำเร็จจากกระแสที่พวกเขาสร้างเอาไว้ ในช่วงปี 26-27 แมคอินทอชเป็นวงที่มีคิวแสดงโชว์ และคิวถ่ายทำหนังเต็มเหยียด ทำให้สมาชิกบางคนเริ่มล้า และใจมีความรักในการที่จะพัฒนางานด้านดนตรีมากกว่างานแสดง ซึ่งกันและกัน จึงเป็นผลงานเพลงปิดท้ายของทางวง ที่ออกมาคู่กับภาพยนตร์เรื่อง สยามสแควร์ โดยอัลบั้มชุดนี้เป็นชุดที่ดีที่สุดของพวกเขาด้วย หลังจากนั้นภาพยนตร์ ตะวันยิ้มแฉ่ง ออกฉายโดยเป็นหนังเรื่องสุดท้ายของพวกเขา
ภายหลัง ต้น หมู และ ปริ๊นซ์ ได้ตั้งวง ตาวัน โดยสลัดความเป็นพ๊อพไอดอล ออกไปอย่างสิ้นเชิง ส่วนอู๋ไปเรียนต่อ mba ที่สหรัฐอเมริกาและกลับมาออกอัลบั้มเดี่ยว ส่วนเหมียวไปได้ดีกับวงการแสดง

สมาชิก
• สมบัติ ขจรไชยกุล (เหมียว) - กีต้าร์ (17 พ.ค. 2500)
• อรรถพล ประเสริฐยิ่ง (อู๋) - คีย์บอร์ด (13 ก.ย. 2502)
• วงศกร รัศมิทัติ (ต้น) - กลอง (29 เม.ย. 2503)
• สุเมศ นาคสวัสด์ (นิด) - ร้องนำ (28 มิ.ย. 2501)
• กิติพันธุ์ ปุณกะบุตร (หมู) - กีตาร์ (26 มิ.ย. 2502)
• มรุธา รัตนสัมพันธ์ (ปริ๊นซ์) - เบส (5 ม.ค. 2502)
• วรเทพ เหลี่ยงวรกุล (เป๋ง) - แซ็กโซโฟน,สตริง (5 ต.ค. 2500)
• สมเกียรติ์ ชวนสมบูรณ์ (หนุ่ย) - ทรัมเป็ต (3 ม.ค. 2502)


ผลงานเพลง
อัลบั้ม ตำราจีบส์
อัลบั้ม ผมอยากดัง (พ.ศ. 2524)
อัลบั้ม ใจสยิว (พ.ศ. 2525)
อัลบั้ม วันวานยังหวานอยู่ (พ.ศ. 2526)
อัลบั้ม วันนี้ยังมีเธอ (พ.ศ. 2526)
อัลบั้ม ซึ่งกันและกัน (พ.ศ. 2527)

ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมของ วงแมคอินทอช ได้ที่
http://www.oknation.net/blog/kilroy/category/mcintosh
http://www.oldsonghome.com/memory/mcintosh.html

สาว สาว สาว


สาว สาว สาว คือกลุ่มนักร้องหญิงแนวเพลงป็อป ของค่ายรถไฟดนตรีซึ่งออกผลงานอยู่ในช่วงปี 2524-2532 ประกอบด้วยสมาชิก 3 คนคือ แอม แหม่ม และ ปุ้ม
• เสาวลักษณ์ ลีละบุตร (แอม) (เกิด 13 พ.ค. 2508)
• พัชริดา วัฒนา (แหม่ม) (เกิด 14 ต.ค. 2510)
• อรวรรณ เย็นพูนสุข (ปุ้ม) (เกิด 7 ก.ย. 2507)

จุดเริ่มต้น
คุณประเสริฐ พงษ์ธนานิกร หรือคุณระย้า นักจัดรายการวิทยุและเจ้าของบริษัทรถไฟดนตรีซึ่งในตอนนั้นยังอยู่บริษัทอีเอ็มไอ มีความต้องการตั้งวงดนตรีผู้หญิงซึ่งเน้นการร้องประสานเสียง จึงติดต่อไปยัง คุณวิรัช อยู่ถาวร (อดีตสมาชิกวงซิลเวอร์แซนด์) โดยคุณวิรัชได้แนะนำ แอม กับ ปุ้ม ซึ่งเป็นลูกสาวและหลานสาวของคุณฉันทนา กิตติยพันธ์ นักร้องอาชีพหญิงของวงการเพลงไทยในขณะนั้น และ แหม่ม ลูกสาวของคุณสุดา ชื่นบาน แอมและปุ้มเคยร้องเพลงในรายการ ฉันทนาโชว์ ทางช่อง 5 ซึ่งคุณระย้าได้มีโอกาสเห็น ทั้ง 3 สาวพร้อมกันในรายการมิวสิกสแควร์ ทางช่อง 3 คุณระย้าจึงได้ทั้งสามสาวมาตั้งกลุ่มนักร้องหญิงกลุ่มแรกวงการเพลงป็อปไทยในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งใช้เวลาการเตรียมงานทำอัลบั้มแรกถึง 3 ปี
ก่อนที่จะใช้ชื่อ สาว สาว สาว เป็นชื่อกลุ่ม คุณระย้าเคยคิดที่จะใช้ชื่อ สามใบเถา แต่ชื่อนี้ซ้ำกับหนังไทยที่ออกฉายไปก่อนแล้ว นำแสดงโดย คุณเนาวรัตน์ ยุกตะนันท์, คุณสุพรรษา เนื่องภิรมย์ และคุณอำภา ภูษิต ทำให้คุณระย้าเกรงว่าถ้าใช้ชื่อนี้อีกอาจจะทำให้เกิดความสับสนกับกลุ่มเป้าหมายได้

อัลบั้มชุดแรก รักปักใจ ออกจำหน่ายในปี 2524 กับสังกัดอีเอ็มไอ (ประเทศไทย) ซึ่งมีเพลงแนะนำคือ “แพะยิ้ม” อัลบั้มชุดนี้เป็นการนำเอาเพลงเก่ามาทำใหม่ และไม่เหมาะกับวัยของ 3 สาวเท่าไหร่นัก ชื่อเสียงของ “สาว สาว สาว” เลยไม่เป็นที่รู้จักเท่าไหร่ ระบบในสมัยนั้นตัวเพลงจะทำหน้าที่ขายตัวเองมากที่สุดโดยไม่มีปัจจัยอื่นมาสนับสนุน ประกอบกับภาพลักษณ์ของทางวงไม่ชัดเจน
เมื่อคุณระย้าเริ่มจัดรายการวิทยุเพลงไทยชื่อรายการ รถไฟดนตรี และตั้งค่ายเทปในชื่อเดียวกันออกผลงานชุดแรกของ ฟรีเบิร์ดส ได้รับความสำเร็จอย่างสูงในปี 2525 ด้วยความพร้อมทางสื่อที่มากขึ้นประกอบ อัลบั้มชุดที่สองของสาว สาว สาว ชุด "ประตูใจ" ออกจำหน่ายในช่วงปลายปี 2525 ซึ่งอัลบั้มชุดนี้ได้เปลี่ยนรูปลักษณ์ของสาว สาว สาว มาอยู่ในมาดสาวน้อยสดใส กับเพลงป็อปร่าเริง สดใส
ความนิยมค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น เริ่มจากในกลุ่มแฟนเพลงของรายการรถไฟดนตรี จน สาว สาว สาว ได้ขึ้นแสดงสดในรายการโลกดนตรีครั้งแรกช่วงต้นปี 2526 หลังจากนั้นความนิยมก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถทำยอดขายได้ถึง 300,000 ม้วน ซึ่งในขณะนั้นต้องถือว่าเป็นปรากฏการณ์ของวงการเพลง สำหรับกลุ่มนักร้องหน้าใหม่ ในปีเดียวกันนั้น สาว สาว สาว กลับมาแสดงที่โลกดนตรีอีกสองครั้ง โดยในครั้งที่สาม (ตุลาคม) ต้องออกมาแสดงนอกห้องส่ง เนื่องจากทางผู้จัดทราบว่าจะมีคนเข้าชมเป็นจำนวนมาก ถึงตอนนี้ สาว สาว สาว ถือว่าเป็นกลุ่มนักร้องหญิงที่ได้รับความนิยมสูงสุดในวงการเพลงไทยไปแล้ว อัลบั้มชุดที่สาม เป็นแฟนกันได้ยังไง ออกจำหน่ายในช่วงปลายปี 2526 เป็นการตอกย้ำความสำเร็จ ด้วยยอดขายอัลบั้มถึง 400,000 ม้วน
คุณชนินทร์ โปสาภิวัฒน์ จากนินจาเอนเทอร์เทนเมนท์โปรเจกต์ ได้จัดคอนเสิร์ตของ สาว สาว สาว ขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2527 ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปี 2526-2527 จึงถือว่าเป็นปีทองของ สาว สาว สาว อย่างแท้จริงด้วย การร้อง การแต่งเพลงเองของสมาชิกในกลุ่ม ภาพลักษณ์ การแสดงสด และตัวเพลงที่สอดคล้องกับยุคสมัยจึงทำให้กลุ่มนักร้องหญิงล้วนกลุ่มนี้เป็นตำนานบทหนึ่งของวงการเพลงไทยมาจนถึงปัจจุบัน
จนในปี พ.ศ. 2533 หลังจากมีผลงานอัลบั้มอีกกว่า 10 อัลบั้ม ทั้ง 3 สาวตัดสินใจยุติความเป็น“สาว สาว สาว” ในอัลบั้มชุดสุดท้ายกับอัลบั้ม “ดอกไม้ของน้ำใจ” ด้วยเหตุผล ต่างคนต่างมีความชอบทางดนตรีที่แตกต่างกันไป
ปัจจุบัน
แอม เป็นศิลปินนักร้อง สังกัดแกรมมี่ มีผลงานออกมาอยู่อย่างสม่ำเสมอ ส่วนแหม่มเป็นศิลปินสังกัด อาร์.เอส. และมีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโสของฝ่ายพัฒนาศิลปินของค่ายอาร์.เอส. รวมถึงเป็นครูสอนขับร้องเพลงให้กับศิลปินในสังกัด และปุ้มออกผลงานกับสังกัดอีเทอร์นัลและมีผลงานตามมาอีกจำนวนหนึ่ง และทำหน้าที่เป็นครูใหญ่ในบ้าน Academy Fantasia

ผลงาน
รักปักใจ (พ.ศ. 2524)
1. รักปักใจ
2. รักไม่จริง
3. แรกสาว
4. แฟนฉัน
5. แพะยิ้ม
6. รักครั้งแรก
7. รักต่างแดน
8. เจอะเขาจ้องมอง
9. เธอกับฉัน
10. จันทร์เจ้า

ประตูใจ (พ.ศ. 2525)
1. ประตูใจ
2. รักคือฝันไป
3. มิอาจรัก
4. ด้วยแรงแห่งรัก
5. รักทำไม
6. อยากลืม
7. ขอเพียงสัญญา
8. อย่าโกรธกันเลย
9. สาวนักเรียนนอก
10. ลาที

In Concert (พ.ศ. 2526)
1. ประตูใจ
2. รักทำไม
3. Hard To Say I’m Sorry
4. ด้วยแรงแห่งรัก
5. อยากลืม
6. The One You Love
7. รักคือฝันไป
8. แพะยิ้ม
9. Mickey
10. I Love You

เป็นแฟนกันได้ยังไง (พ.ศ. 2526)
1. เป็นแฟนกันได้ยังไง
2. ติ๊กต่อก(อย่าหยุดนะ)
3. ถ้าเธอกลับมา
4. เพียงเพราะว่า
5. ยาเสพติด(หลีกหนีให้ห่าง)
6. ไม่มีเธอ
7. บอกฉันว่าไง
8. แปลกดีนะ
9. ฟ้ากว้าง ทางไกล
10. คลื่นเสน่หา

หาคนร่วมฝัน (พ.ศ. 2527)
1. รักโกหก
2. รักชั่วคราว
3. แมวน้อยกับผีเสื้อ
4. จุดหมายปลายทาง
5. คิดถึงทุกวัน
6. ยามไกล
7. หาคนร่วมฝัน
8. ปฏิทินหัวใจ
9. ยิ้มเย้ยโลก
10. ไม่มีใครร้องไห้กับเรา
11. รักสำคัญที่ใจ
12. อย่าให้ฝันเก้อ

ในวัยเรียน (พ.ศ. 2528)
1. พบกันที่เขาดิน
2. ในวัยเรียน
3. ภาพฝัน
4. Thank You
5. จำไว้นะเธอ
6. เบื่อคอย
7. บ้านน้อย
8. Telephone
9. เที่ยวทะเล
10. เบื่อคนเค็ม
11. แมงมุม
12. เพียงความทรงจำ

แมกไม้และสายธาร (พ.ศ. 2529)
1. คืนใจ
2. ทุ่งอ้อ
3. ผิดสัญญา
4. รักไม่กลับคืน
5. อยากมีรัก
6. คำสัญญา
7. บทเพลงชีวิต
8. ลมเพ้อ
9. เด็กน้อยกับดวงดาว
10. หาคนร่วมฝัน

Because I Love You (พ.ศ. 2530)
1. Memory
2. Because I love you
3. Careless Whisper
4. When we make a home
5. You're the inspiration
6. Years
7. Windows & Walls
8. Our house
9. You send me
10. Walking in the rain
11. AMETO NAMIDA KAHITO (Chi Chi)
12. Starship of love
13. Last song for you

ว้าว..ว! (พ.ศ. 2531)
1. ฉันบอกเธอเอง
2. ลองทำดู
3. ห่วงใยทุกนาที
4. กว่าจะเจอ
5. คืนสุดท้าย
6. เพียงแค่เธอลืมฉันไป
7. หวังเพียงให้เธอรู้ใจ
8. รักผ่านไป...อีกครั้ง
9. แค่เพื่อนกัน
10. ฉันยังรอ

Together (พ.ศ. 2531)
1. Four Letter Words
2. Last Christmas
3. Lost in Love
4. Afternoon Delight
5. Something That Used To Be Mine
6. Luka
7. Danny’s Song
8. Video City
9. Love’s Gotta Hold on Me
10. Love
11. If You Remember Me
12. I Can’t Tell You Why

ดอกไม้ของน้ำใจ (พ.ศ. 2532)
1. ดอกไม้ของน้ำใจ
2. มีแต่เสียใจ
3. ไม่รู้ใจ
4. ลบไม่ออก
5. ลุยต่อไป
6. เบื่อแล้ว
7. เจ็บกว่านี้มีไหม
8. ตามเคย
9. เมื่อไรจะรู้
10. เจ็บก็ดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หาอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.saosaosao.com/

วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

คีรีบูน


คีรีบูน เป็นวงดนตรีชื่อดังช่วงยุค '80 ของ อาร์เอส ซาวด์ (อาร์เอสในปัจจุบัน) มีสมาชิกในยุคดั้งเดิมทั้งหมด 6 คน แต่ในอัลบั้ม "เพื่อน" มือเบสมีภารกิจส่วนตัวจึงดึงมือเบสคนใหม่เข้ามาแทน โดยมีสมาชิกที่เป็นแกนหลักคือ อ๊อด รณชัย ถมยาปริวัฒน์ (กีตาร์,ร้องนำ,หัวหน้าวง) โดยสมาชิกของคีรีบูนยุคแรกมีดังนี้
• รณชัย ถมยาปริวัฒน์ (อ๊อด) ตำแหน่ง กีตาร์,ร้องนำ
• อาทิตย์ นามบุญศรี (โอ๋) ตำแหน่ง กีตาร์,ร้อง
• ไพศาล อัญญธนา (ศาล) ตำแหน่ง คีย์บอร์ด,ร้อง
• ไกรฤทธิ์ แพสุวรรณ (โหน่ง) ตำแหน่ง เบส
• พิพัฒน์ นิลประภา (ตุ้ม) ตำแหน่ง คีย์บอร์ด
• ชัยพล อิ่มด้วยสุข (หนุ่ม) ตำแหน่ง กลอง

อัลบั้มแรกวางแผงเมื่อปี พ.ศ. 2526 ในชื่อว่า "หากรัก" ต่อมาอัลบั้ม "รอวันฉันรักเธอ" ซึ่งเป็นอัลบั้มชุดที่ 2 ได้ออกวางแผงในปี พ.ศ. 2527 มีเพลงดังอย่าง "รอวันฉันรักเธอ" โดยเพลงนี้ อ๊อด รณชัย นักร้องนำและหัวหน้าวงได้แต่งขึ้นจากชีวิตจริงของมือกลองคนแรกของวงที่จะต้องไปศึกษาต่อที่สิงคโปร์ และเป็นห่วงคนรักของเขามาก ทางอ๊อด คีรีบูนจึงแต่งเพลงนี้ขึ้นเพื่อแทนความคิดถึงของทั้งสองที่มีต่อกัน
หลังจากนั้นโหน่ง ไกรฤทธิ์ มือเบสของวงได้ขอลาออกจากวงไปเนื่องจากมีภารกิจส่วนตัวทางวงจึงดึง ต๋อง คมสันต์ ตันไชยฤทธิกุล เข้ามาเล่นเบสแทน โดยในปี พ.ศ. 2528 ได้ออกวางตลาดอัลบั้มชุดที่ 3 ชื่อ "เพื่อน" และอัลบั้มชุดที่ 4 ชื่อ "เพียงก่อนนั้น" ในระหว่างนั้นทางอาร์เอสได้ให้อ๊อดออกอัลบั้มเดี่ยวชื่อ "อ๊อด in USA" ตามกระแสที่ นิธิทัศน์ โปรโมชั่น ได้ปล่อย แจ้ ดนุพล ออกมา โดยทำการบันทึกเสียงที่สหรัฐอเมริกา ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 ทางวงได้ออกอัลบั้มชุดที่ 5 ซึ่งเป็นอัลบั้มชุดสุดท้ายของวงในชื่อว่า "ตลอดกาล" หลังจากนั้นสมาชิกทั้งหมดก็ประกาศแยกวงในที่สุด
และล่าสุดทางวงได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้งเพื่อแสดงคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกในรอบ 26 ปีของวงในคอนเสิร์ตที่มีชื่อว่า กาลครั้งหนึ่งของคีรีบูน ในวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553 ที่อิมแพค เมืองทองธานี
ผลงาน
1. คีรีบูน - หากรัก (2526)
2. คีรีบูน - รอวันฉันรักเธอ (2527)
3. คีรีบูน - เพื่อน (2528)
4. คีรีบูน - เพียงก่อนนั้น (2529)
5. คีรีบูน - ตลอดกาล (2529-2530)
6. คีรีบูน - ชุดพิเศษ ฝากไว้ให้คิดถึง (2538)

.....................................................................................................

วงชาตรี


ชาตรี เป็นวงดนตรีโฟล์คซองที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2512 โดยนักศึกษาปี2 แผนกช่างภาพ วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ 3 คน คือ นราธิป กาญจนวัฒน์ ประเทือง อุดมกิจนุภาพ คฑาวุธ สท้านไตรภพ ทั้งสามคนเล่นกีตาร์โปร่ง ต่อมาได้ชักชวนอนุสรณ์ คำเกษม เพื่อนร่วมห้องอีกคนหนึ่งมาเล่นกลอง ชื่อวงชาตรี มาจากชื่อหนังสือพระเครื่อง ของประชุม กาญจนวัฒน์ (พ่อของนราธิป)
วงชาตรีเริ่มรวมวงและแสดงครั้งแรก ในงานเลี้ยงต้อนรับน้องใหม่ของแผนกช่างภาพ ต่อมาได้แสดงในหอประชุมใหญ่ วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ และเข้าแข่งขันการประกวดวงโฟล์คซอง ทางวงรวบรวมเงินกันซื้อกลองเก่ามาหนึ่งชุด ทุกวันทุกคนในวงต้องช่วยกันขนกลองจากบ้านของอนุสรณ์ ที่มีนบุรี ขึ้นรถเมล์ไปวิทยาลัยเพื่อฝึกซ้อมในช่วงเย็น

วงชาตรีเริ่มบันทึกเสียงครั้งแรกทางรายการวิทยุ "120 นาที มัลติเพล็กซ์" โดยการชักชวนของครูไพจิตร ศุภวารี หนึ่งในกรรมการตัดสินโฟล์คซอง ซึ่งเห็นความสามารถ และได้บันทึกแผ่นเสียงชุดแรก จากไปลอนดอน พ.ศ. 2518 ชุดที่สอง แฟนฉัน พ.ศ. 2519 และได้ทำดนตรีประกอบภาพยนตร์ สวัสดีคุณครู กำกับโดยพันคำ นำแสดงโดยจารุณี สุขสวัสดิ์ จากนั้นจึงทำผลงานชุดที่สาม นำเพลงลูกทุ่งของชาตรี ศรีชลมาขับร้องใหม่
พ.ศ. 2520 ผลงานชุดที่สี่ ฝนตกแดดออก ประกอบภาพยนตร์ ฝนตกแดดออก กำกับโดยชาลี อินทรวิจิตร นำแสดงโดยสรพงศ์ ชาตรี ลลนา สุลาวัลย์ จากนั้นได้ทำเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง รักแล้วรอหน่อย ของพันคำ นำแสดงโดยสรพงศ์ และจารุณี และเรื่องจ๊ะเอ๋เบบี้ นำแสดงโดยสมบัติ เมทะนี และลลนา สุลาวัลย์
วงชาตรีเพิ่มตำแหน่งนักดนตรีคีย์บอร์ด โดยได้ประยูร เมธีธรรมนาถซึ่งทำระบบเสียงให้กับวงมาเล่นให้ พ.ศ. 2522 ทำเพลงประกอบละครเรื่อง นางสาวทองสร้อย ทางช่อง 9 และออกผลงานชุดใหม่ รัก 10 แบบ และ ชีวิตใหม่
ผลงานชุดชีวิตใหม่ เกิดขึ้นจากทางวงได้เข้าไปเยี่ยมชมสำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก และได้แต่งเพลงชื่อ หลงผิด เนื้อหาเกี่ยวกับผู้ติดยาเสพติด รายได้มอบให้กับสำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก
พ.ศ. 2523 ออกผลงานชุด รักครั้งแรก และ สัญญาใจ เป็นที่ระลึกในโอกาสที่ ประเทือง สมาชิกวงแต่งงาน จากนั้นออกผลงานชุด ชะตารัก
พ.ศ. 2525 เปิดการแสดงสดครั้งใหญ่ที่โรงแรมดุสิตธานี และออกผลงานบันทึกการแสดงสด ชาตรีอินคอนเสิร์ต ตามด้วยชุด รักไม่เป็น ได้รับรางวัลตุ๊กตาทองมหาชน จากเพลงภาษาเงิน
พ.ศ. 2526 ผลงานชุดใหม่ รักที่เธอลืม มีเพลง วันรอคอย และ ใต้ร่มเย็น ประพันธ์โดยพลเอกหาญ ลีลานนท์ แม่ทัพภาคที่ 4 เนื้อหาให้คนไทยมีความสามัคคีและรักชาติ อัลบั้มชุดนี้ได้รางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว จากยอดขายมากกว่าสองแสนตลับ
ผลงานชุดถัดมาชื่อ แอบรัก บันทึกเสียงที่ห้องบันทึกเสียงชาตรี ซึ่งตั้งชื่อเป็นเกียรติให้กับวง ตามด้วยชุด ชาตรีทศวรรษ
ผลงานชุดที่ 15 ชุดสุดท้ายของวง วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ชื่อชุด อธิษฐานรัก ถือฤกษ์วางจำหน่ายในวันแห่งความรัก และคอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายของพวกเขาได้จัดขึ้นที่รายการโลกดนตรีเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2528

ผลงาน
• จากไปลอนดอน (2518)
• แฟนฉัน (2519)
• หลงรัก (ลูกทุ่ง ชาตรี ศรีชล) (2519)
• ฝนตกแดดออก (2520)
• รัก 10 แบบ (2522)
• ชีวิตใหม่ (2522)
• รักครั้งแรก (2523)
• สัญญาใจ (2523)
• ชะตารัก (2524)
• ชาตรีอินคอนเสิร์ต (2525)
• รักไม่เป็น (2525)
• รักที่เธอลืม (2526)
• แอบรัก (2527)
• ชาตรีทศวรรษ (2527)
• อธิษฐานรัก (2528)
ขอบคุณ
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับคนรัก วงชาตรี
http://www.wongchatree.com/
http://www.oldsonghome.com/chatree
.................................................................................................

พิ้งค์แพนเตอร์


วงพิ้งค์แพนเตอร์ สมาชิกประกอบด้วย
วิชัย ปุญญะยันต์ (6 ส.ค. 2493)
โสรยา สิรินันท์ (19 ก.ค. 2500)
ณรงค์ อับดุลราฮิม
อดุลย์ วงษ์แก้ว
กรองทอง ทัศนพันธ์
ปนิตา ทัศนพันธ์
ประมาณ บุษกร
ประจวบ สินเทศ
มนู ทองดีมีชัย
เจน เฉลยกาย
ธนะศักดิ์ ไวอาสา
พิ้งค์แพนเตอร์ ออกผลงานชุด สายชล ในปี 2525 แต่เพลงที่เข้าวินคือ "รักฉันนั้นเพื่อเธอ"
แต่งโดย ชรัส เฟื่องอารมย์ นำทำนองมาจากเพลงญี่ปุ่น ทำให้ต้องเปลี่ยนชื่อชุดในภายหลัง
เมื่อพิมพ์ปกใหม่ จัดได้ว่าเป็นงานม้ามืดที่ทาง EMI ต้นสังกัดคาดไม่ถึงว่าจะทำยอดขาย
ได้เกินหกหลัก

วิชัย ปุญญะยันต์ (ต๋อย) อดีตสมาชิกวงซิลเวอร์แซนด์ตัวเต็งคว้าแชมป์สตริงคอมโบชิงถ้วย
พระราชทานในปีแรก (2512) แต่พลาดให้ดิอิมไปอย่างเฉียดฉิว ตอนนั้นซิลเวอร์แซนด์เล่นออก
แจ๊ซ แต่ดิอิมเน้นการร้องเสียงประสานทำให้ชนะใจกรรมการไปหวุดหวิด แต่พี่ต๋อยได้รางวัล
ตำแหน่งกีต้าร์คอร์ดยอดเยี่ยมจากการแข่งขันครั้งนี้ และได้รับพระราชทานรางวัลจากพระหัตถ์ในหลวง
เมื่อซิลเวอร์แซนด์ยุบวงพี่ต๋อยก็ทำงานอยู่ในวงการด้วยการรับเรียบเรียงเสียงประสาน
ร้องไกด์ ในห้องอัด ทำงานดนตรีให้กับ Wee Gee, วินัย พันธุรักษ์, อรวรรณ วิเศษพงศ์,
ธีระศักดิ์ อัจจิมานนท์, จันทนีย์ อุนากูล, สุชาติ ชวางกูร และ ชาตรี (ชุดภาษาเงิน) เป็นต้น

ในช่วงเวลานั้นก็ได้ฟอร์มวงพิ้งค์แพนเตอร์ ขึ้นมาเล่นแบ็คอัพและเล่นในห้องไปด้วย ภายหลัง EMI มองว่า
พิ้งค์แพนเตอร์ น่าจะทำผลงานของวงออกมาจึงเป็นที่มาของงานชุดแรก ดนตรีของพิ้งค์แพนเตอร์ มักจะใช้เสียงออร์เคสตร้าเข้าเสริมบทเพลงทำให้เป็นกลายเอกลักษณ์ของวง การแสดงสดจึงต้องใช้กลุ่ม
เครื่องสายเข้ามาเสริมหลายชิ้นทำให้การแสดงสดของวงน่าติดตามยิ่งนัก
ไกลเกินฝัน ออกตามในปีต่อมาโดยได้ โสรยา สิรินันท์ (ป้อม) เข้ามาเป็นนักร้องเสริม
เธอได้ฝากผลงานเพลงที่ไพเราะฟังได้มาจนถึงทุกวันนี้คือ "รอยเท้าบนผืนทราย" งานของพิ้งค์
ขณะที่ออกในสังกัด EMI เป็นงานน่าฟังทุกชุด และเป็นช่วงที่ทางวงโด่งดังมากที่สุด
ภายหลังทางวงมาสังกัดกับมิวสิคไลน์และนิธิทัศน์ ต่อมาพี่ต๋อยได้ดูแลงานผลิตให้กับ
ซีรีส์สุนทราภรณ์ ของแกรมมี่โกลด์

ขอขอบคุณ
ภาพและบทความ จากบล็อกดีๆของคุณ kilroy http://www.oknation.net/blog/kilroy
อ่านเรื่องราวเพิ่มเติมได้ที่ http://www.oldsonghome.com/pinkpanther
..............................................................................................

รอยัลสไปรท์ส


รอยัลสไปรท์ส (อังกฤษ: Royal Sprites) กลุ่มดนตรีสตริงคอมโบสัญชาติไทย มีชื่อเสียงในช่วง พ.ศ. 2522-2530 โดยนำทำนองเพลงฮิตจากต่างประเทศมาใส่เนื้อเพลงภาษาไทย มีหัวหน้าวงคือ อำนาจ ศรีมา มือกีตาร์ [2] มีนักร้องนำคือ สุนทร สุจริตฉันท์ รอยัลสไปรท์สมีผลงานทั้งในแนวป็อป ร็อก ดิสโก และลูกทุ่ง
ประวัติ
รอยัลสไปรท์ส ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2512 โดยอำนาจ ศรีมา หลังจากวงฟลาวเวอร์สได้ยุบวงไป โดยได้รวบรวมเพื่อนๆ ที่เรียนอยู่ที่โรงเรียนเพาะช่าง โดยมีนักร้องนำคือ อดิศักดิ์ ประคุณหังสิต ชื่อวงครั้งแรกชื่อ "The Royal Academy Of Magic Sprites" ต่อมาได้ตัดให้สั้นลงเหลือ "The Royal Sprites" เริ่มจากการเป็นวงดนตรีเล่นตามไนท์คลับ และเข้าร่วมการประกวดสตริงคอมโบชิงถ้วยพระราชทานครั้งที่สอง ปี พ.ศ. 2513 แต่ได้เพียงตำแหน่งรองแชมป์ พ่ายแพ้ให้กับวงดิ อิมพอสซิเบิลส์ ในระยะแรกเล่นดนตรีในแนวป็อบ และร็อก ต่อมาเมื่ออดิศักดิ์ ประคุณหังสิต ลาออกจากวงเพื่อไปทำงานประจำ จึงได้สุนทร สุจริตฉันท์ ซึ่งเป็นนักร้องดนตรีสากลจากวง M7 มาเป็นนักร้องนำแทน
รอยัลสไปร์ทส มีผลงานอัลบั้มครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2522 เล่นดนตรีแนวดิสโกตามสมัยนิยม มีเพลงดังคือเพลง เจงกีสข่าน นำเพลงฮิตของวง Dschinghis Khan จากเยอรมนีมาใส่คำร้องภาษาไทย, เพลง "จีบจู๋จี๋" จากทำนองเพลง Itsy Bitsy Teenie Weenie Yellow Polka Dot Bikini ของ Brian Hyland, เพลง "น่าอาย" จากทำนองเพลง Two Faces Have I ของ Lou Christie, เพลง "อาลีบาบา"
รอยัลสไปร์ทสมีผลงานอีกหลายชุด รวมทั้งชุด "มาหาพี่" ในแนวเพลงลูกทุ่ง มีเพลงดังคือเพลง "รักสิบล้อต้องรอสิบโมง" "สวยในซอย" ผลงานที่มียอดขายสูงสุด คือชุด "หยุดโลก" ในปี พ.ศ. 2526 มียอดขายเทปหลายแสนม้วน จนทำให้ทั้งวงได้ร่วมแสดงภาพยนตร์ เพลงรักก้องโลก ของไพจิตร ศุภวารี นำแสดงโดย ทูน หิรัญทรัพย์ จารุณี สุขสวัสดิ์ สมบัติ เมทะนี วินัย พันธุรักษ์ ภัทรา ทิวานนท์ และสุรชัย สมบัติเจริญ
สมาชิกในวงแยกย้ายกันไปทำงานส่วนตัว เมื่อราว พ.ศ. 2530 และกลับมารวมตัวกันอีกครั้งในปี พ.ศ. 2548 มีผลงานล่าสุดชื่อชุด "คนเก่งของฉัน"
ผลงาน
• เจงกีสข่าน
• มาหาพี่
• รักสิบล้อฯ
• ถ้าจะบ้า
• อาลีบาบา
• ผ้าขาวม้า
• เดียมวงกระดาวด่าว
• หลานอาโก
• หนึ่งไม่มีสอง
• สวยในซอย
• เรื่องจิ๊บจ๊อย
• ลูกทุ่งดิสโก้
• จีบจู๋จี๋
• 13 ปี รอยัลสไปรท์
• หยุดโลก
• สู่อวกาศ
• เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง เพลงรักก้องโลก
• '28 ซุปเปอร์เมดเล่ย์
• มายาแฟนตาซี
• 25 ปี รอยัลสไปรท์
• คนเก่งของฉัน
สมาชิก
อำนาจ ศรีมา (กีตาร์)
เสริมเวช ช่วงยรรยง (คีย์บอร์ด)
สุนทร สุจริตฉันท์ (ร้องนำ)
ไพรเวศ วงศ์ธนบัตร (เครื่องเป่า)
นิยม สะอาดพันธ์ (เบส)
พิเชฏฐ์ ศุขแพทย์ (เครื่องเป่า)
เดชา จินดาพล (เครื่องเป่า)
ศิโรฒน์ จุลินทร (กลอง)
ศักดา พัทธสีมา (กีตาร์, ร้อง)
ขอขอบคุณ
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
..............................................................................